03-praduu-abbreviation-01

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงนาม MOU กับ มหาวิทยาลัยจี๋หลิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

เมื่อวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2564 สาขาวิชาภาษาจีน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ร่วมกับศูนย์กิจการนานาชาติ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยจี๋หลิน (College of Humanities, Jilin University) สาธารณรัฐประชาชนจีน  โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและพัฒนาการเรียนการสอน ในนามรักษาการแทนคณบดีสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงนามความร่วมมือ MOU กับ  Prof. Zhang Conghao คณบดีคณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยจี๋หลิน (College of Humanities, Jilin University) สาธารณรัฐประชาชนจีน  ณ ห้องประชุมเขาหลวง อาคารสหกิจศึกษา

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทร์นรินทร์ ศุภกร รักษาการแทนรองคณบดีสำนักวิชาศิลปศาสตร์ และรักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานาชาติ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริพร สมบูรณ์บูรณะ รักษาการแทนรองคณบดี สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมรักษ์  ชัยสิงห์กานานนท์ หัวหน้าสถานวิจัย สำนักวิชาศิลปศาสตร์  อาจารย์ศิริคุณ  พันธ์รังษี  หัวหน้าสาขาวิชาภาษาจีน  อาจารย์ธีรวัฒน์  กล่าวเกลี้ยง หัวหน้าสาขาวิชาภาษาไทย  คณาจารย์สาขาวิชาภาษาจีน และ บุคลากรจากศูนย์กิจการนานาชาติเข้าร่วมในพิธี

ทั้งนี้ คณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัยจี๋หลิน (Jilin University) ประกอบด้วย Prof. Zhang Conghao, Dean of the College of Humanities, Prof. Li Yun, Deputy Director, Northeast Center for Chinese International Education & Office of Global Engagement และ Yuan Jinxu, Program Officer of Northeast Center for Chinese International Education เข้าร่วมผ่านระบบออนไลน์

การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยจี๋หลิน (College of Humanities, Jilin University) สาธารณรัฐประชาชนจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันพัฒนากิจกรรมทางวิชาการของศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ ของกระทรวงศึกษาธิการของจีน และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของไทย ตลอดจนส่งเสริมการฝึกอบรมบุคลากรด้านการสอนภาษาจีน การเปิดหลักสูตร “ภาษาจีน- พลัส ” การประชุมสัมมนาและการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบออนไลน์ระยะสั้นสำหรับครูผู้สอนภาษาจีน และความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระหว่างสองฝ่าย ภายใต้ “โครงการความร่วมมือด้านภาษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ไทย-จีน” ซึ่งเป็นโครงการของรัฐบาลจีน โดย MOU ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 5 ปี

 

Facebook Comments Box