03-praduu-abbreviation-01

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ

ชื่อหลักสูตร: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ
ชื่อปริญญา: ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ)

ปรัชญา/วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในศาสตร์ภาษาอังกฤษ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในวิชาชีพ ปรับตัวในสังคมพหุวัฒนธรรมและดำเนินชีวิตในฐานะพลเมืองโลกได้

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อตอบสนองภาครัฐและภาคเอกชนสนับสนุนกำลังคนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580
  2. ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570
  3. ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ เข้าสู่ตลาดแรงงานในประเทศ และในระดับนานาชาติ
  4. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ 4 ด้านตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองทิศทาง นโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติและมหาวิทยาลัย ตลอดจนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสอดคล้องตามเกณฑ์ 4 ด้าน ตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 รวมทั้งการมุ่งเน้นในการผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ สามารถแสวงหาความรู้ได้ตลอดชีวิต บนพื้นฐานของการมีจิตสำนึกในการรักชาติ รักแผ่นดิน มีความกตัญญู มีวินัย และรับผิดชอบต่อสังคม โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้มีความสามารถแต่ละด้านดังนี้

1. ด้านความรู้ (Knowledge)
PLO1
อธิบายหลักภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพได้
PLO2 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านภาษาศาสตร์ วรรณคดี การแปล และทักษะการสื่อสาร ฟัง พูด อ่าน เขียนเพื่อการสื่อสารสำหรับการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้
PLO3 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (English for Specific Purposes) ด้านภาษาจีน ด้านการสอนภาษาอังกฤษ ด้านการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม ด้านอีเว้นท์และการสื่อสารองค์กรดิจิทัล ด้านรัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง หรือด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ
PLO4 อธิบายพื้นฐานภาษาไทย ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานชีวิต สังคม สุขภาพ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมได้

2. ด้านทักษะ (Skills)
PLO5
มีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษตามมาตรฐานสากล รวมทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอื่น มีทักษะในการนำเสนอผลงานในที่สาธารณะ การสื่อสารในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้
PLO6 มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดระบบข้อมูลได้ ใช้ตรรกะได้ถูกต้องสอดคล้อง มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำทักษะการคิดไปใช้ในการออกแบบงานวิจัยได้อย่างสมเหตุผล
PLO7 มีทักษะในการใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัล ในการค้นคว้าข้อมูล คัดกรอง รวบรวมองค์ความรู้ ดำเนินเพื่อปฏิบัติงานในบริบทที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ และมีความรู้อย่างต่อเนื่อง
PLO8 มีทักษะสังคม สามารถปรับตัว ร่วมงานกับผู้อื่นได้ และดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ
PLO9 มีทักษะในการใช้องค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (English for Specific Purposes) ด้านภาษาจีน ด้านการสอนภาษาอังกฤษ ด้านการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม อีเว้นท์และการสื่อสารองค์กรดิจิทัล ด้านรัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง หรือด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ

3. ด้านจริยธรรม (Ethics)
PLO10
มีความกตัญญู รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ตรงเวลา และไม่ละเมิดจรรยาบรรณทางวิชาการ

4. ด้านลักษณะส่วนบุคคล (Characters)
PLO11 มีทัศนคติเปิดกว้าง ยอมรับความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สามารถดำเนินชีวิตในฐานะพลเมืองโลกได้
PLO12 กล้าแสดงความเห็นเชิงวิชาการอย่างเหมาะสม เป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีภาวะผู้นำ ใจอาสา และความมีวินัย

แนวทางประกอบอาชีพ
 
  1. บุคลากรด้านการสอนภาษาอังกฤษ นักวิชาการ นักวิจัย ถ่ายทอดความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ
  2. นักแปลและล่าม แปลตัวบท หรือแปลการสนทนาสด สืบค้นข้อมูล ถ่ายทอดข้อมูล
  3. พนักงานโรงแรม พนักงานต้อนรับ ทำหน้าที่ด้านการจอง รับแขกเข้าพัก/ออกจากที่พัก ดูแลลูกค้าในแผนกต่าง ๆ ของโรงแรม
  4. พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล กับผู้ใช้บริการจากนานาประเทศ
  5. พนักงานประชาสัมพันธ์ สื่อสาร ให้ข้อมูลภาษาอังกฤษต่อประชาคมที่ไม่ใช้ภาษาไทย
  6. มัคคุเทศก์ ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อช่วยในคณะนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และนำเที่ยวให้คนไทยเมื่อไปท่องเที่ยวต่างประเทศ
  7. นักข่าว นักเขียนคอนเทนต์เว็บไซต์ สืบค้นข้อมูล แปลและเขียนเรียบเรียง เพื่อนำเสนอในสื่อสาธารณะ

แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิชาภาษาอังกฤษ หรือสาขาอื่น ๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 23,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 184,000 บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต
ก) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า26 หน่วยกิต
ข) หมวดวิชาเฉพาะ94 หน่วยกิต
ค) หมวดวิชาเลือกเสรี6 หน่วยกิต