03-praduu-abbreviation-01

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย

ชื่อหลักสูตร: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
ชื่อปริญญา:
ชื่อเต็ม:ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร)
ชื่อย่อ:
ศศ.บ. (ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร)

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งผลิตบัณฑิตที่ “เก่งศาสตร์การสื่อสาร เชี่ยวชาญภาษาไทย รู้ใช้เทคโนโลยี มีจริยธรรมวิชาชีพ” กล่าวคือ เป็นผู้มีทักษะการสื่อสารทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการปฏิบัติงาน เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่พึ่งด้านภาษาไทยและพร้อมให้คำปรึกษาอย่างถูกต้อง รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการช่วยปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย และปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ อย่างมีจริยธรรม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาไทยเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาศักยภาพคน ตามแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ.2564-2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2566-2570
  2. ผลิตบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ด้านภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในการประกอบอาชีพ ทั้งทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน สามารถบูรณาการความรู้และทักษะ เพื่อปรับตัวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงได้ ขยัน อดทน รู้เท่าทันเทคโนโลยี และปลูกฝังความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และเคารพกฎระเบียบของสังคม สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
  3. ผลิตบัณฑิตที่มีมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาตามข้อกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับปริญญาตรี (พ.ศ. 2565) ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ (Khowledge) ด้านทักษะ (Skill) ด้านจริยธรรม (Ethic) และด้านลักษณะบุคคล (Character)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองทิศทาง นโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติและมหาวิทยาลัยตลอดจนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสอดคล้องตามเกณฑ์ 4 ด้าน ตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 รวมทั้งการมุ่งเน้นในการผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ สามารถแสวงหาความรู้ได้ตลอดชีวิต บนพื้นฐานของการมีจิตสำนึกในการรักชาติ รักแผ่นดิน มีความกตัญญู มีวินัย และรับผิดชอบต่อสังคม โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้มีความสามารถแต่ละด้านดังนี้

1) ด้านความรู้ (Knowledge)
PLO1 อธิบายองค์ความรู้ด้านภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรมไทยได้
PLO2 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรมไทย เพื่อการสร้างสรรค์เนื้อหา ด้านงานเขียน งานประชาสัมพันธ์ และงานวิชาการ
PLO3 อธิบายความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ทั่วไป การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

2) ด้านทักษะ (Skills)
PLO4 มีทักษะการสื่อสารภาษาไทย และภาษาอังกฤษเพื่อการใช้ในชีวิตประจำวัน และการทำงานด้านภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน และการนำเสนอผลงานได้ตามวัตถุประสงค์ ในกรณีที่นักศึกษาเลือกเรียนภาษาจีน สามารถสื่อสารภาษาจีนในชีวิตประจำวัน
PLO5 มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น รวบรวม เรียบเรียง สำหรับการวิเคราะห์และนำเสนองานด้านวิชาการ รวมทั้งการใช้ในชีวิตประจำวัน
PLO6 มีทักษะการคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพื่อแก้ปัญหาวิจัยทางภาษาไทยอย่างมีจริยธรรมทางวิชาการ
PLO7 มีทักษะการดูแลตนเองเพื่อสร้างสุขภาวะ

3) ด้านจริยธรรม (Ethics)
PLO8 แสดงออกถึงความซื่อสัตย์สุจริต มีความกตัญญู
PLO9 แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อตนเอง เคารพกฎระเบียบสังคมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

4) ด้านลักษณะบุคคล (Character)
PLO10 ตระหนักถึงคุณค่าความเป็นไทย มีจิตอาสา และเป็นที่พึ่งด้านภาษาไทยแก่ผู้อื่น
PLO11 แสดงออกถึงการมีวินัย การมีภาวะผู้นำ สามารถเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตาม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

 

แนวทางประกอบอาชีพ
    1. นักเขียน คัดเลือก เรียบเรียง และประยุกต์เนื้อหาตลอดจนตรวจสอบการใช้ภาษาและความถูกต้องของเนื้อหาที่จะเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ โดยลักษณะผลงานที่เขียนได้มีดังนี้
      – งานบันเทิงคดี อาทิ นักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย เพื่อตีพิมพ์ในหนังสือและแอปพลิเคชันออนไลน์
      – งานด้านส่งเสริมการตลาด อาทิ นักเขียนสโลแกนหรือเนื้อหาเพื่อสื่อสารและส่งเสริมภาพลักษณ์แก่สินค้า บุคคล หรือองค์กร
      – งานด้านสื่อสารมวลชน อาทิ Content Writer นักเขียนบทโทรทัศน์ บทละคร บทภาพยนตร์ บทรายการโทรทัศน์ เขียนข่าว บรรณาธิการ
    2. นักประชาสัมพันธ์ วางแผนและดำเนินการประชาสัมพันธ์ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรทั้งหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชน ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่าง ๆ และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ข่าวสารประชาสัมพันธ์ บทความ ภาพถ่าย วิดีโอ และสไลด์ รวมถึงบทความสัมภาษณ์ผู้บริหาร หรือบุคคลพิเศษในโอกาสพิเศษ ซึ่งรวมถึงการเผยแพร่กิจกรรมพิเศษเพื่อสังคมต่าง ๆ
    3. นักวิชาการด้านภาษาและวัฒนธรรม ค้นคว้า รวบรวม วิจัยด้านภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อรักษาไว้ให้เป็นลักษณะเฉพาะของชาติ จัดทำแผนงานและโครงการเพื่อการส่งเสริม เผยแพร่และปลูกฝังวัฒนธรรม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ วิธีการปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรม เช่น ตำแหน่งนักวิชาการกรมส่งเสริมวัฒนธรรม นักวิชาการวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น
    4. นักสร้างสรรค์ข้อมูลทางวัฒนธรรม สร้างสรรค์และประยุกต์ข้อมูลทางวัฒนธรรม เป็นผลิตภัณฑ์ บริการ หรือสื่อใหม่ เช่น ตำแหน่ง Creative และ Content Creator ทำหน้าที่คิดและให้คำปรึกษาทีมผู้ผลิตภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ เกม นักออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัฒนธรรม ตลอดจนออกแบบประสบการณ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิชาภาษาไทย วรรณคดีไทย วรรณกรรม คติชน หรือสาขาอื่น ๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 23,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 184,000 บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
(เลือกเรียนภาษาอังกฤษ 9 หน่วยกิต หรือภาษาจีน 9 หน่วยกิต)
26หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
(รวมกลุ่มวิชาสหกิจศึกษา 13 หน่วยกิต)
88หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี6หน่วยกิต