ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Liberal Arts (International Program)
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ศิลปศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy (Liberal Arts)
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ คือ การศึกษาวิจัยแบบเปลี่ยนผ่านวิทยาการ (Transdisciplinary) เป็นการวิจัยสาขาวิชาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีพื้นภูมิหลังความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการนั้นๆ มาร่วมกันศึกษาหาคำตอบในปัญหาวิจัยเดียวกัน มาหลอมรวมกันเป็นหลักสูตรใหม่ที่มีเนื้อหาสาระความรู้ด้านศิลปศาสตร์เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แยกจากกันหรือเป็นเนื้อหาความรู้ใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนดปัญหาวิจัย จนกระทั่งถึงการสรุป การเขียนรายงานวิจัย เป็นการหลอมรวมความรู้ด้านศิลปศาสตร์ที่ครอบคลุมในทุกมิติ ดังนั้นแนวทางการจัดการ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ จะเน้นให้บัณฑิตสามารถทำการวิจัยเชิงลึกเพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเองอย่างมีระบบ มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน สังเคราะห์องค์ความรู้และวางแผนได้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีความสามารถในการสร้างผลงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม และมีจิตสํานึกเพื่อส่วนรวม และใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างดีเยี่ยม
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ มีหลักปรัชญาเป้าหมาย คือ
1) เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการวิจัยเกี่ยวกับศิลปศาสตร์ อันตอบสนองนโยบายการศึกษาและการพัฒนาประเทศ
2) เพื่อพัฒนาความรู้และการวิจัยด้านศิลปศาสตร์ในระดับนานาชาติ
3) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหาและสามารถประยุกต์ความรู้และทักษะในโลกแห่งความจริง (Real-World)
4) เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายทางวิชาการระดับนานาชาติ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และการจัดการความรู้ทางด้านศิลปศาสตร์ อย่างเป็นระบบตามมาตรฐานสากล
2) เพื่อผลิตและเพิ่มพูนศักยภาพนักวิจัย/นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ/บุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีศักยภาพในการวิจัยด้านศิลปศาสตร์ โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาสำคัญที่กำลังเผชิญหน้าอยู่อย่างเป็นระบบ สามารถสื่อสารไปยังผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
3) เพื่อสนองเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการสร้างดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ ที่มีศักยภาพด้านการวิจัย มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์และมีความเสียสละต่อสังคม
4) เพื่อสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ชาติ/แผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในการก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำในระดับนานาชาติ
คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร
– ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ วางแผนโดยการฝึกฝนแก้โจทย์ปัญหาในรายวิชาและงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์
– ฝึกให้นักศึกษาเพิ่มทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ โต้แย้งในเชิงหลักการ ผ่านรายวิชาสัมมนา รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็นในงานประชุมวิชาการต่าง ๆ
– ส่งเสริมทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ ด้วยการจัดเวทีสัมมนาระดับนานาชาติเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง และสนับสนุนให้นักศึกษาไปนำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
– ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน เช่น การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการนําเสนอผลงานงานวิจัย การสืบค้นฐานข้อมูลสําหรับการวิจัย
– ฝึกนักศึกษาให้มีความสามารถในการจัดการเวลาผ่านแผน การดำเนินการเรียนการสอนที่แน่นอนของหลักสูตร เช่น ภาคการศึกษาที่นักศึกษาควรจะสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ การสอบ ผ่านภาษาอังกฤษ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาสามารถสําเร็จการศึกษาได้ตามเวลา
– มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล และค่านิยมอันดีงามที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพ
– สนับสนุนให้นักศึกษาได้ร่วมเป็นผู้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ของหลักสูตรเพื่อฝึกทักษะจิตอาสา และการรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนในสังคม
แนวทางประกอบอาชีพ
1.นักวิชาการ/นักวิจัยที่มีศักยภาพในการวิจัย การผลิตความรู้ และการจัดการความรู้เกี่ยวกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2.อาจารย์ทางด้านศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในสถาบันระดับอุดมศึกษา
3.นักบริหารงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ
4.นักพัฒนาองค์กรเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ
แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในระดับ Postdoctoral ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งมหาวิทยาลัยในประเทศและต่างประเทศ
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
112,500 บาท/ภาคการศึกษา (สำหรับนักศึกษาไทย)
150,000 บาท/ภาคการศึกษา (สำหรับนักศึกษาต่างชาติ)
โครงสร้างหลักสูตร
ก. แบบ 1.1 | จํานวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร | 48 | หน่วยกิต | |
1) หมวดวิชาบังคับหน่วยกิต | ||||
– กลุ่มวิชาเสริมพื้นฐาน | 6* | หน่วยกิต | ||
– กลุ่มวิชาสัมมนา | 9* | หน่วยกิต | ||
2) หมวดวิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | ||
*ไม่นับหน่วยกิต แต่จะต้องมีผลการเรียนในระดับ S | ||||
ข. แบบ 2.2 | จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร | 72 | หน่วยกิต | |
1) หมวดวิชาบังคับ | ||||
– กลุ่มวิชาเสริมพื้นฐาน | 12 | หน่วยกิต | ||
– กลุ่มวิชาสัมมนา | 12 | หน่วยกิต | ||
2) หมวดวิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต |
ตารางเปรียบเทียบโครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร | แบบ 1.1 | แบบ 2.2 |
หมวดวิชาบังคับ – กลุ่มวิชาเสริมพื้นฐาน – กลุ่มวิชาสัมมนา | 6* 9* | 12 12 |
หมวดวิทยานิพนธ์ | 48 | 48 |
รวม | 48 | 72 |