cropped-03-praduu-abbreviation.png

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ)

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts Program in English (International Program)


ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts Program (English) (International Program)


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชา และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะคิดวิเคราะห์ เข้าใจบริบทของสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ

วัตถุประสงค์ 

  1. มีความรู้ในศาสตร์ภาษาอังกฤษ สามารถฟังและพูดโต้ตอบด้วยภาษาอังกฤษในหัวข้อด้านวิชาการ สังคมและวิชาชีพได้ สรุปใจความและประเด็นสำคัญจากสิ่งที่ฟังได้ถูกต้อง สามารถแยกแยะประเภทของข้อมูลที่อ่านในสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ และสามารถนำเสนอรายงานทั้งในรูปปากเปล่าและการเขียนอย่างถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ เทียบเท่าระดับ C1 (Proficient User) ตามมาตรฐานสากล Common European Framework of Reference for Languages: learning, teaching, assessment (CEFR)
  2. สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษด้านต่างๆ เช่น การออกเสียง ภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องตามหลักสัทศาสตร์และสัทวิทยาภาษาอังกฤษ สามารถวิเคราะห์ความหมายและที่มา ของคำตามหลักวิทยาหน่วยคำภาษาอังกฤษ สามารถวิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของวลีและประโยคตามหลักวากยสัมพันธ์ภาษาอังกฤษ ตลอดจนสามารถวิเคราะห์วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของภาษาอังกฤษ รวมถึงนานาภาษาอังกฤษโลก (World Englishes)
  3. สามารถอ่าน ตีความ วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรมประเภทร้อยแก้ว ร้อยกรอง และบทละครอังกฤษและอเมริกัน โดยอิงทฤษฎีวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าใจความสำคัญของปัจเจกชน สังคมและวัฒนธรรม อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
  4. สามารถบูรณาการความรู้ทางด้านภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษกับศาสตร์อื่นๆ ได้แก่การแปลข้อความและตัวบทประเภทต่าง ๆ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและ ภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ตัวบทประเภทให้ข้อมูล (ข่าวและสารคดี) แสดงความรู้สึก (นวนิยาย) โน้มน้าว (สุนทรพจน์และคำปราศรัย) ตลอดจนการแปลตัวบทที่ใช้คำศัพท์เฉพาะสาขาวิชาให้ถูกต้องครบถ้วนและ สละสลวย อันเป็นผลมาจากความเข้าใจภาษาและโครงสร้างของทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

  1. มีความรู้ ความเข้าใจภาษาอังกฤษในทางทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเพื่อการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ
  2. เข้าใจสังคมและความแตกต่างทางวัฒนธรรม สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อความหมายเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้
  3. มีความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ
  4. ทำหน้าที่ของตนในสังคมอย่างเหมาะสม มีจิตสาธารณะ
  5. มีความซาบซึ้งในสุนทรียศาสตร์แขนงต่าง ๆ

แนวทางประกอบอาชีพ

  1. อาชีพด้านวิชาการและการศึกษาวิจัย เช่น ครู อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักแปล ล่าม ฯลฯ
  2. อาชีพด้านสื่อสารมวลชนทุกรูปแบบ เช่น ผู้สื่อข่าว ผู้เขียนข่าว บรรณาธิการ นักเขียนสารคดี เขียนบทละครโทรทัศน์ บรรณาธิการกิจและพิสูจน์อักษร ผู้สร้างสรรค์งานด้านสื่อมวลชน ฯลฯ
  3. อาชีพในองค์การราชการ ทั้งในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ หน่วยงาน องค์การของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การพัฒนาชุมชน องค์การการปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาล กระทรวงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฯลฯ
  4. อาชีพในวงการธุรกิจ เช่น อุตสาหกรรมการบริการ สายการบิน และการท่องเที่ยวโรงแรม ล่ามภาษา
  5. มัคคุเทศก์ งานประชาสัมพันธ์ เลขานุการ ฯลฯ
  6. อาชีพสร้างสรรค์งานศิลปะรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ เช่น นักเขียน กวี นักแปล นักศิลปะการละคร นักเขียนบทภาพยนตร์ ฯลฯ

แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิชาภาษาอังกฤษ หรือสาขาอื่น ๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม (ระบบทวิภาค)

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 40,600 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 324,800 บาท

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 136 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

30 หน่วยกิต

 

1) กลุ่มวิชาภาษา

15 หน่วยกิต

 

2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

6 หน่วยกิต

 

3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

6 หน่วยกิต

 

4) กลุ่มวิชาบูรณาการ

3 หน่วยกิต

 

5) กลุ่มวิชาสารสนเทศ

3* หน่วยกิต

  หมายเหตุ * ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร  

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

100 หน่วยกิต

 

1) กลุ่มวิชาแกน

18 หน่วยกิต

 

2) กลุ่มวิชาเอก

42 หน่วยกิต

 

3) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน

27 หน่วยกิต

 

4) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา

13 หน่วยกิต

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

6 หน่วยกิต

 

สมัครเรียนกับเรา

Facebook Comments Box