03-praduu-abbreviation (4)
การอ่านออกเสียง 1

โครงการวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์: การส่งเสริมศักยภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนใหม่

สำนักวิชาครุศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผศ.ทัดดาว รักมาก หัวหน้าสาขาหลักสูตรภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร และอาจารย์รัชฎาพร ตัณฑสิทธิ์ ประธานวิชาเอกหลักสูตรครุศาสตร์ วิชาเอกภาษาไทย จัดทำโครงการส่งเสริมศักยภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนใหม่ ภายใต้โครงการยกระดับโรงเรียนชุมชนใหม่สู่โรงเรียนต้นแบบด้านการศึกษาอย่างยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนชุมชนใหม่ และเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกด้านการอ่านและการเขียนของผู้เรียนโดยมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างใกล้ชิดและเป็นระบบระหว่างบุคลากรทางการศึกษาทั้งบุคลากรครู ผู้อำนวยการ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 และมหาวิทยาลัย ดังนี้

 

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาเครื่องมือฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้โดยผู้เชี่ยวชาญ จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2567 โดยได้รับเกียรติจาก
คุณจันทรา ด่านคงรักษ์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา”แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ ประกอบด้วย ผศ.ทัดดาว รักมาก และ อาจารย์รัชฎาพร ตัณฑสิทธิ์ เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาผู้เรียนที่มีปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาเครื่องมือฝึกทักษะด้านการอ่านและการเขียนที่มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และสามารถนำไปปรับใช้ในกิจกรรมของโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่ 2 การประชุมวางแผนการดำเนินงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้จัดการประชุมร่วมกับโรงเรียนชุมชนใหม่เพื่อหารือและวางแผนการดำเนินงานของโครงการ โดยการประชุมได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2567 โดยมีตัวแทนจากทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมประชุม เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานและจัดสรร

กิจกรรมที่ 3 การทดสอบองค์ความรู้ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ก่อนดำเนินการฝึกทักษะการอ่านและการเขียน อาจารย์ผู้ดำเนินโครงการจัดกิจกรรมทดสอบองค์ความรู้ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนชุมชนใหม่ เพื่อให้การฝึกทักษะการอ่านและการเขียนเกิดประสิทธิภาพจึงดำเนินการวัดระดับความสามารถด้านการอ่านและการเขียนที่แท้จริงของนักเรียน รวมถึงเพื่อวางแผนการฝึกอบรมให้ตรงตามความต้องการของนักเรียนแต่ละบุคคล

กิจกรรมที่ 4 การฝึกทักษะการอ่านและการเขียน โครงการนี้ใช้เทคนิคที่หลากหลายในการฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เช่น การเล่นเกมที่ส่งเสริมการอ่านและการเขียนในแบบที่สนุกสนานและมีส่วนร่วม อีกทั้งยังใช้วิธีแบบ “พี่สอนน้อง” ซึ่งนักเรียนที่มีทักษะดีจะได้มีโอกาสช่วยเหลือนักเรียนที่ยังต้องการการพัฒนาทักษะเพิ่ม ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มนักเรียนและเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ บรรยาการศเป็นไปอย่างสนุกสนาน

กิจกรรมที่ 5 การทดสอบหลังเข้าร่วมกิจกรรม หลังจากการฝึกทักษะการอ่านและการเขียนเสร็จสิ้น นักเรียนจะได้รับการทดสอบเพื่อวัดความก้าวหน้าและพัฒนาการในการอ่านและเขียน ข้อมูลจากการทดสอบนี้จะนำมาวิเคราะห์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานและปรับปรุงวิธีการสอนให้มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของนักเรียนต่อไปนักเรียน

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และโรงเรียนชุมชนใหม่ เน้นการพัฒนาทักษะด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนในระดับประถมศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ในระยะยาว ถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการยกระดับการศึกษาให้เป็นไปอย่างยั่งยืนในชุมชนและสถานศึกษารอบมหาวิทยาลัย.