cropped-03-praduu-abbreviation.png

การประชุมวิชาการระดับชาติ “ศิลปศาสตร์วิจัยวลัยลักษณ์” ครั้งที่ 3

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ได้จัดประชุมวิชาการระดับชาติ "ศิลปศาสตร์วิจัยวลัยลักษณ์" ครั้งที่ 3 ขึ้น ซึ่งการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพการวิจัยของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยมีเป้าหมายให้นักศึกษาได้พัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำวิจัยมากขึ้น และให้สามารถพัฒนาผลงานวิจัยของนักศึกษาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่หรือนำเสนอในเวทีวิชาการต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ได้มีนักศึกษาจากมหาวิทยาทักษิณ และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เข้าร่วมนำเสนอบทความวิจัยด้วย

การประชุมในครั้งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.บุญยงค์ เกศเทศ ปาฐกถาเรื่อง "นักศึกษากับการสร้างงานวิจัยในยุคไทยแลนด์ 4.0" และได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต คณบดีสำนักวิชาศิลปศาสตร์กล่าวเปิดการประชุม

รองศาสตราจารย์ ดร.บุญยงค์ เกศเทศ

องค์ปาฐก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต

คณบดีสำนักวิชาศิลปศาสตร์

ประธานพิธีเปิด

การประชุมได้แบ่งกลุ่มนำเสนอออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มภาษา วรรณกรรม และการศึกษา กลุ่มประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และชุมชนท้องถิ่น และกลุ่มการท่องเที่ยว สื่อ และวัฒนธรรมสมัยนิยม รวมบทความที่เข้าร่วมนำเสนอทั้งหมด 31 บทความ

และสำนักวิชาศิลปศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่ได้รับรางวัล ดังต่อไปนี้

กลุ่มที่ 1 กลุ่มภาษา วรรณกรรม และการศึกษา

  • รางวัลบทความยอดเยี่ยม ได้แก่

An Analysis of Pronoun ‘I’ in Thai Translated Version of ‘Thepajao Hang Sing Lek Lek (2007)’ 

โดย นางสาวพรวรินท์ พาหนะ และนางสาวเวธกา พูลนิล จากหลักสูตรภาษาอังกฤษ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  • รางวัลบทความดีเด่น ได้แก่

การใช้ภาษาพาดหัวข่าวในเว็บไซต์ www.sanook.com

โดย นางสาววรวรรณ ทิพย์อุดมลักษณ์ จากสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

  • รางวัลนำเสนอยอดเยี่ยม ได้แก่

The Changing of Contemporary Yaoi in Character

โดย นางสาวพิมายรัตน์ หวานนวล จากหลักสูตรภาษาอังกฤษ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  • รางวัลนำเสนอดีเด่น ได้แก่

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบการใช้หนังสือแบบเรียน Pop-up เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านคำศัพท์ภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

โดย นางสาวธัญพัฒน์ ขาวทุ่ง และอาจารย์ถิรายุ อินทร์แปลง จากสาขาวิชาการสอนภาษาจีน สำนักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

กลุ่มที่ 2 กลุ่มประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และชุมชนท้องถิ่น

  • รางวัลบทความยอดเยี่ยม ได้แก่

เสื้อคอกระเช้าบ้านหนองฟ้าเลื่อน ฝีจักรขับเคลื่อนแห่งยุคทุนนิยม

โดย นางสาวอรัญญา ภูมิสาขา จากหลักสูตรไทยศึกษาบูรณาการ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  • รางวัลบทความดีเด่น ได้แก่

จะทิ้งหม้อแล้วหรือสทิงหม้อ: สถานภาพช่างปั้นหม้อในช่วงทศวรรษ 2510ปัจจุบัน

โดย นางสาวรัชนีกร สุวรรณโณ จากหลักสูตรประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

  • รางวัลนำเสนอยอดเยี่ยม ได้แก่

การเดินทางของควัน: วัฒนธรรมความเป็นชายและนัยยะทางเศรษฐกิจของบุหรี่ในอินโดนีเซียร่วมสมัย

โดย นายชาศร เถาว์สุวรรณ และนายอภินันท์ ชุมนวล จากหลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  • รางวัลนำเสนอดีเด่น ได้แก่

การล่ม-สลายของตลาดผีหีบ จังหวัดนครศรีธรรมราช

โดย นายศักดา ไชยภาณุรักษ์ และ นายชยกร ชูพันธ์ จากหลักสูตรไทยศึกษาบูรณาการ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

กลุ่มที่ 3 กลุ่มการท่องเที่ยว สื่อ และวัฒนธรรมสมัยนิยม

  • รางวัลบทความยอดเยี่ยม ได้แก่

หมูย่างเมืองตรัง วิถีการบริโภคสู่การท่องเที่ยว

โดย นางสาวนิสาลักษณ์ ยิ้วประพันธ์ และ นางสาวสุธินี อินทศิลา จากหลักสูตรไทยศึกษาบูรณาการ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  • รางวัลบทความดีเด่น ได้แก่

ความงามของหญิงไทย: ศึกษาผ่านคอลัมน์นิตยสารฉลาดซื้อ พ.ศ. 2540-2560

โดย นางสาวโชตินภา นำมะม่วง จากหลักสูตรประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

  • รางวัลนำเสนอยอดเยี่ยม ได้แก่

ภาพพจน์ที่ปรากฏในบทเพลงที่ขับร้องโดยบ่าววี อาร์สยาม

โดย นางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง จากสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

  • รางวัลนำเสนอดีเด่น ได้แก่

การใช้ภาษาพาดหัวบทโฆษณาในนิตยสารเที่ยวรอบโลก

โดย นางสาวพรพรรณ ลีลาพันธ์ จากสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

 

คลังภาพ

Facebook Comments Box