อาจารย์ ดร.เกตมาตุ ดวงมณี เข้าร่วมการประชุมสัมมนา “ASEAN+3 REGIONAL LEARNING CITIES CONFERENCE 2024” และ International Assembly of Youth for UNESCO (Y4U) 2024
อาจารย์ ดร. เกตมาตุ ดวงมณี ในฐานะนักวิจัยผู้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุม ดังนี้
เมื่อวันที่ 29 – 30 ตุลาคม 2567 อาจารย์ ดร.เกตมาตุ ดวงมณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน สำนักวิชาครุศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมสัมมนาเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวกสาม “ASEAN+3 REGIONAL LEARNING CITIES CONFERENCE 2024” ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพมหานคร ภายในการประชุมดังกล่าวได้มีการแบ่งปันความรู้ระหว่างเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และและประเทศ ‘PLUS 3’ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ดังนี้
- เสริมสร้างศักยภาพของเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านการแบ่งปันความรู้ระหว่างเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศ ‘PLUS 3’ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐเกาหลี
- ระบุและเผยแพร่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการกำหนดนโยบายของรัฐบาลกลางและท้องถิ่น ที่มีบทบาทในการส่งเสริมการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ และริเริ่มนวัตกรรมในระดับเมืองให้สอดคล้องกับบริบทของเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ยกระดับศักยภาพของเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาค
- สร้างแพลตฟอร์มที่ยั่งยืนสำหรับการแลกเปลี่ยนและสร้างความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO และเมืองอื่น ๆ ที่มีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567 ยังได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมสัมมนา International Assembly of Youth for UNESCO (Y4U) 2024 ภายใต้หัวข้อ Empowering Communities through UNESCO Initiatives: Advancing Science and Technology, Culture, Creativity and Lifelong Learning ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ใน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อเป็นช่องทางสำหรับการให้คำปรึกษาแก่เยาวชน การสนทนา และความร่วมมือระหว่างเพื่อนในบริบทของภารกิจขององค์การยูเนสโกและอนุสัญญามรดกโลก
- เพื่อร่างเอกสารสำคัญที่สะท้อนแนวคิดและแผนการดำเนินงานของการประชุมสมัชชาและผู้เข้าร่วม ซึ่งเมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว จะถูกส่งไปยังคณะกรรมการแห่งชาติสำหรับยูเนสโก
- เพื่อเสริมสร้างบทบาทของ UNESCO ในการเป็นผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในระดับรากหญ้า โดยการเสริมอำนาจให้สามารถดำเนินการท้าทายในการปรับใช้ความพยายามที่ยึดโยงกับคำประกาศในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน
ทั้งนี้การประชุมดังกล่าว จัดโดย National Coordinating Body of UNESCO Clubs in the Philippines (NCBUCP) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งมาเป็นเวลา 14 ปี มีเครือข่ายที่เข้มแข็งทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ