cropped-03-praduu-abbreviation.png

Undergraduate Research Conference การวิจัยระดับปริญญาตรีในเวทีวลัยลักษณ์เอ็กซ์โป

สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ร่วมกับสำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ได้จัดโครงการ “การวิจัยระดับปริญญาตรีในเวทีวลัยลักษณ์เอ็กซ์โป” Undergraduate Research Conference ขึ้นเมื่อวันเสาร์ ที่ 1 เมษายน 2560 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณชน เพื่อสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพของผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีระหว่างสถาบันการศึกษา และเพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และสถาบันการศึกษาอื่นๆ โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้ส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอกว่า 50 เรื่อง

IMG_8473 IMG_8475

โดย รศ.ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตกุล ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน และมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้น ศ.ชวน เพชรแก้ว ภาคีสมาชิกราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม ได้ปาฐกถาในหัวข้อ “การวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : ความท้าทายและโอกาส”

IMG_8494 IMG_8505

IMG_8524 IMG_8533

IMG_8538 IMG_8541

ส่วนของการนำเสนอโครงงานวิจัย แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 กลุ่มภาษา วรรณกรรม และสื่อมวลชนศึกษา

กลุ่มที่ 2 กลุ่มกฎหมาย การเมือง การบริหารรัฐกิจและวิสาหกิจ

กลุ่มที่ 3 กลุ่มเศรษฐกิจท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศึกษา

กลุ่มที่ 4 กลุ่มชาติพันธุ์วรรณนาและคติชนวิทยา

IMG_8623 IMG_8629

IMG_8648 IMG_8618

IMG_8634 IMG_8642

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการเสวนาพิเศษหัวข้อ “พม่าระยะประชิด” โดยคุณทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร นักจัดการความรู้อาวุโส มิวเซียมสยาม

IMG_8694  IMG_8708

และในเวลา 16.00 น. ผศ.ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี ได้ให้เกียรติมอบเกียติบัตรแก่ผู้นำเสนอทุกท่าน และมอบโล่รางวัลแก่โครงงานดีเด่นทั้ง 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 กลุ่มภาษา วรรณกรรม และสื่อมวลชนศึกษา ได้แก่ โครงงานเรื่อง “จากเขาชื่อกานต์ ถึงเทวเดินดิน ความคิดทางสังคม ของ มจ.ชาตรี เฉลิมยุคล ในยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน” โดย นายอมรินทร์ ณ พิบูลย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

กลุ่มที่ 2 กลุ่มกฎหมาย การเมือง การบริหารรัฐกิจและวิสาหกิจ ได้แก่ โครงงานเรื่อง “ยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทยผ่านการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายระหว่างประเทศ” โดย นายเมธาสิทธิ์ ทองสุข คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กลุ่มที่ 3 กลุ่มเศรษฐกิจท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศึกษา ได้แก่ โครงงานเรื่อง “พัฒนาการเศรษฐกิจ แม่ขรี จ.พัทลุง” โดย นายสุริยา แปลงจะโปะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

กลุ่มที่ 4 กลุ่มชาติพันธุ์วรรณนาและคติชนวิทยา ได้แก่ โครงงานเรื่อง “นูนุส: ภาพสะท้อนชีวิตแม่บ้านอินโดนีเซียในต่างแดน” โดย นางสาวปนัดดา ชุมดำ หลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

จากนั้นได้กล่าวปิดงานอย่างเป็นทางการ

IMG_8724 IMG_8729

Facebook Comments Box