Breaking News

ความเคลื่อนไหวของหลักสูตร

หลักสูตรอาเซียนศึกษาจัดกิจกรรม “พบปะ-ดูหนัง-รับฟังนักศึกษา” ครั้งที่ 1

หลักสูตรอาเซียนศึกษาจัดกิจกรรม “พบปะ-ดูหนัง-รับฟังนักศึกษา” ครั้งที่ 1 ในวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2557 เริ่มตั้งแต่เวลา 9.45 น. เป็นต้นไป ณ อาคารเรียนรวม 5 ห้อง 5211 (ช่วงเช้า) และ อาคารวิชาการ 8 (ช่วงบ่าย) กิจกรรมประกอบด้วยการฉายภาพยนตร์เรื่อง “Me … Myself” และกิจกรรมกลุ่มย่อยเกี่ยวกับประเด็นในภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาเรียน และกระบวนการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาที่มีปัญหาในการเรียน  กิจกรรม “พบปะ-ดูหนัง-รับฟังนักศึกษา” เป็นกิจกรรมในโครงการอาจารย์ที่ปรึกษา และเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ASE-251 Genders and Sexuality in ASEAN และ ASE-256 Performing Arts in ASEAN Tourism Industry

Read More »

นักศึกษาหลักสูตรอาเซียนศึกษาได้รับรางวัลศึกษิตแห่งปี 2556

หลักสูตรอาเซียนศึกษาขอแสดงความยินดีกับนายกฤตานนท์ มะสะนิง นักศึกษาหลักสูตรภูมิภาคศึกษา/อาเซียนศึกษา ซึ่งได้รับการพิจารณาให้ได้รับรางวัลศึกษิตแห่งปีที่วลัยลักษณ์ "Walailak Award" ประจำปีการศึกษา 2556 โดยรางวัลดังกล่าวนี้จะสรรหาพิจารณามอบให้กับนักศึกษาผู้มีคุณงามความดีเหมาะสมตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และตามปณิธานของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกำลังใจและส่งเสริมให้การทุ่มเทกระทำคุณงามความดีเป็นค่านิยมกว้างขวางในหมู่นักศึกษาของมหาวิทยาลัย นายกฤตานนท์เป็นนักศึกษาเอกอินโดนีเซียศึกษา ซึ่งทุ่มเทกับการศึกษาและการทำกิจกรรมอันมีประโยชน์ต่อหลักสูตรฯ มหาวิทยาลัย และสังคมภายนอกตลอดการศึกษาทั้งสี่ปี ส่วนหนึ่งของเกียรติประวัติและกิจกรรมทรงคุณค่า เช่น ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการนักศึกษาสำนักวิชาศิลปศาสตร์ปี 2553 ประธานคณะกรรมการนักศึกษาหลักสูตรภูมิภาคศึกษา/อาเซียนศึกษาปี 2553 ประธานผู้ประสานงานเครือข่ายนักศึกษาอาณาบริเวณศึกษา ประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ระหว่างปี 2554-2555 ประธานหอพักลักษณานิเวศ 5 และประธานคณะกรรมการกลางหอพักลักษณานิเวศปี 2554 และเป็นผู้ประสานงานนักศึกษาซึ่งเดินทางไปศึกษายัง State University of Malang ประเทศอินโดนีเซียในโครงการ In-Country ของหลักสูตรฯ ในปี 2556 เป็นต้น ทั้งนี้ นายกฤตานนท์จะเข้ารับพระราชทานรางวัลดังกล่าวนี้จากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2556 วันที่ 1 สิงหาคม 2557 …

Read More »

อาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล เข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ประจำปี 2557 ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2557 อาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล อาจารย์ประจำหลักสูตรอาเซียนศึกษา ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ประจำปี 2557 ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ณ เวทีเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ถ.เจริญกรุง กรุงเทพฯ การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้านในงานประกอบด้วยการแสดงทั้งหมด 8 ประเภท ได้แก่ วงสะล้อ ซอ ซึง วงมังคละ วงกลองยาว วงแตรวง วงพิณ แคน โปงลาง วงกันตรึม วงโนรา และดิเกร์ฮูลูงาน โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงเป็นวิศิษฏศิลปิน และเพื่อส่งเสริมการปลูกฝัง ถ่ายทอดดนตรีและการแสดงพื้นบ้านให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนวงดนตรีและการแสดงพื้นบ้านให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

Read More »

กิจกรรม International Student Oreintation สำหรับ Internship Students จาก Universiti Teknologi MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย

ส่วนวิเทศสัมพันธ์นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อัศวิน พรหมโสภา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และคณาจารย์จากหลักสูตรอาเซียนศึกษา นำโดยอาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล ได้ให้การต้อนรับนักศึกษาสหกิจศึกษาจาก Universiti Teknologi MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย เข้าฝึกงานในหลักสูตรอาเซียนศึกษา โดยมีการจัดกิจกรรม International Student Orientation เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557 ณ ห้องประชุม 15/5 ชั้น 2 อาคารบริหาร ทั้งนี้นักศึกษาชาวมาเลเซียกลุ่มดังกล่าวจะฝึกสหกิจศึกษาโดยอยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยมีกำหนดการฝึกงานในวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 มิถุนายน 2557 การที่หลักสูตรฯ มีโอกาสในการต้อนรับนักศึกษาต่างชาติให้เข้ามาปฏิบัติสหกิจศึกษา ถือเป็นโอกาสอันดีในการสานสัมพันธ์ทั้งระหว่างมหาวิทยาลัย และเป็นผลดีต่อนักศึกษาของทั้งสองมหาวิทยาลัยในการที่จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเรียนรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างสองสังคม ทั้งยังเป็นการฝึกทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาอังกฤษและภาษามลายูให้แก่นักศึกษาในหลักสูตรอีกด้วย

Read More »

หนังสือรวมเรื่องสั้นและบทกวีของอาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชั้นนำในมาเลเซีย

ผลงานรวมเรื่องสั้นและบทกวีในภาษามลายู ในชื่อ Pantai Ini Lautnya Dalam (ทะเลนี้น้ำลึก) ประกอบด้วยเรื่องสั้น 10 เรื่อง และบทกวี 28 ชิ้น ที่ประพันธ์โดยอาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล จากหลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ITBM-PENA ในประเทศมาเลเซีย ผลงานเล่มดังกล่าวนี้เป็นการรวมงานประพันธ์ที่กลั่นประสบการณ์ในการเฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสังคมมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยและวิถีความเป็นไปของมุสลิมในสังคมไทยกว่าทศวรรษ การตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้เผยแพร่อย่างกว้างขวางในประเทศมาเลเซีย จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักอ่านชาวมาเลเซียได้สัมผัสผลงานวรรณกรรมของนักเขียนไทย และเอื้อประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจสังคมมุสลิมไทยอย่างลึกซึ้งมากขึ้น

Read More »

เชิญร่วมงานนำเสนอผลการลงพื้นที่หาดใหญ่ของนักศึกษาอาเซียนศึกษา

หลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานนำเสนอผลการลงพื้นที่ทัศนศึกษาและเก็บข้อมูลที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยนักศึกษาอาเซียนศึกษาในสามรายวิชาได้แก่ ASE-226 Modern Cities, Subculture and Consumerism in ASEAN, ASE-227 Marketing and Culture Industry in ASEAN และ ASE-235 Visual Consumption and Architecture in ASEAN ในวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2557 เวลา 8.30 – 12.00 น. ณ อาคารเรียนรวม 3 ห้องบรรยาย 03207 ทั้งนี้ เนื้อหาในการนำเสนอจะครอบคลุมในหลายมิติ เช่น วัฒนธรรมร่วมสมัย การท่องเที่ยวในยุคประชาคมอาเซียน ระบบเศรษฐกิจและกระบวนการเป็นเมือง ฯลฯ โดยนักศึกษาในทั้งสามรายวิชาได้ลงพื้นที่ไปเมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม 2557 ในสถานที่สำคัญๆ เช่น ศาลเจ้าเทพนาจา สวนสาธารณะหาดใหญ่ วัดฉื่อฉาง …

Read More »

อาเซียนศึกษาและวิเทศสัมพันธ์จัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานสหกิจศึกษาและร่วมเลี้ยงอำลานักศึกษาจาก UiTM

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2557 ส่วนวิเทศสัมพันธ์ร่วมกับหลักสูตรอาเซียนศึกษา ได้จัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานสหกิจศึกษาและร่วมเลี้ยงอำลานักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Universiti Teknologi MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย ณ ห้องประชุมตุมปัง อาคารบริหาร นอกจากการนำเสนอผลงานแล้ว ในงานยังมีกิจกรรมการร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักศึกษาจาก UiTM กับนักศึกษาจากหลักสูตรอาเซียนศึกษาด้วย ทั้งนี้ นักศึกษาทั้งห้าได้มาฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษาในหลักสูตรภูมิภาคอาเซียนศึกษาเป็นเวลา 4 เดือน โดยมีอาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  

Read More »

หนังสือแปลรวมเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ ปี 2556 “เสือสิบเจ็ดตัวของลูตา” ซึ่งแปลโดยอาจารย์เพ็ญศรี พานิช และคณะ จากหลักสูตรอาเซียนศึกษา ได้รับการตีพิมพ์

รวมเรื่องสั้นชุด “Seekor Anjing Mati di Bala Murghub” โดยลินดา คริสตานตี (Linda Christanty) นักเขียนสตรีชาวอินโดนีเซีย ซึ่งได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์) ประจำปี 2556 ได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทยภายใต้ชื่อ “เสือสิบเจ็ดตัวของลูตา” โดยอาจารย์เพ็ญศรี พานิช อาจารย์จิรวัฒน์ แสงทอง อาจารย์ทรรศนะ นวลสมศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรอาเซียนศึกษา และนางสาววรันทร ฉะพงศ์ภพ นักศึกษาหลักสูตรอาเซียนศึกษา “Seekor Anjing Mati di Bala Murghub” ถ่ายทอดเรื่องราวประเด็นทางสังคม การเมือง ศาสนา เพศสภาพ และภาวะปัจเจกในของสังคมอินโดนีเซีย โดยใช้วิธีการในแนวสัจสังคมและสัจนิยมมหัศจรรย์ คณะผู้แปลได้เลือกเรื่องสั้นทั้งหมดจำนวน 13 เรื่อง เพื่อแปลเป็นภาษาไทยและได้รับการตีพิมพ์โดยความร่วมมือระหว่างสำนักพิมพ์นาคร และศูนย์ศึกษาภาษา สังคม และวัฒนธรรมอาเซียน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน …

Read More »

สถาบันวิจัยสังคม โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. จัดพิมพ์หนังสือที่จัดทำโดยนักศึกษาอาเซียนศึกษา

โครงการร่วมแรงร่วมใจส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ไทย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้อนุมัติงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือ “ผู้รับได้ใช้ ผู้ให้ได้บุญ” ซึ่งนางสาวกรรณิการ์ ทินแก้ว และนางสาวอารีนา ส่งเสริม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรภูมิภาคศึกษา/อาเซียนศึกษา ได้ร่วมกันจัดรูปเล่มและจัดการเนื้อหา หนังสือเล่มนี้ถือเป็นโครงงานที่นักศึกษาดำเนินการในขณะที่ปฏิบัติสหกิจศึกษา ณ สถาบันวิจัยสังคม เนื้อหาของหนังสือเป็นการนำเสนอวิธีการถวายสังฆทานที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์จริงกับพระภิกษุสงฆ์ และสอดคล้องกับหลักปฏิบัติทางศาสนา โดยจัดพิมพ์ในรูปเล่มที่น่าอ่านและมีเนื้อหาที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ได้รับการจัดพิมพ์ครั้งแรกจำนวน 2,000 เล่ม และขณะนี้มีการจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 2 แล้ว อีกจำนวน 3,000 เล่ม

Read More »

การอบรมทักษะเชิงปฏิบัติการ (workshop) การแปลวรรณกรรมแปลอินโดนีเซีย

นักศึกษาเอกอินโดนีเซียศึกษาเข้าร่วมในกิจกรรมอบรมทักษะเชิงปฏิบัติการด้านการแปลวรรณกรรมอินโดนีเซีย โดยมีคุณศิริวร แก้วกาญจน์ มาเป็นวิทยากรให้คำแนะนำ และช่วยตรวจผลงานแปลของนักศึกษาอย่างละเอียด กิจกรรมครั้งนี้เป็นแรงผลักสำคัญให้นักศึกษาในหลักสูตรฯ ได้ดำเนินการปรับแก้ผลงานแปลวรรณกรรมของตน เพื่อทำการเผยแพร่สู่วงกว้างต่อไปในอนาคต      

Read More »
Sahifa Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.