Breaking News

ผลงานและรางวัลคณาจารย์

อาจารย์ทรรศนะ นวลสมศรี ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในงานสัมมนาระดับนานาชาติ “Second International Seminar on Language, Literature, Art, and Culture (ISLLAC)” ณ ประเทศอินโดนีเซีย

           อาจารย์ทรรศนะ นวลสมศรี ประธานหลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรพิเศษ (Keynote Speaker) ในงานสัมมนาระดับนานาชาติ “Second International Seminar on Language, Literature, Art, and Culture (ISLLAC)” ในหัวข้อ “Strengthening the National Cultural Identity through Language, Literature, Art, and Education in the Millennial Era” ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งจัดขึ้นโดย Universitas Negeri Malang ประเทศอินโดนีเซีย โดยในการสัมมนาในครั้งนี้อาจารย์ทรรศนะ นวมสมศรีได้นำเสนอบทความเรื่อง “Kekerasan, …

Read More »

คณาจารย์หลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมเสวนาในงานเปิดตัววรรณกรรมแปล “สมิงสำแดง”

“สมิงสำแดง” ได้รับการแปลโดย อาจารย์เพ็ญศรี พานิช อาจารย์ประจำหลักสูตรอาเซียนศึกษา จากต้นฉบับภาษาอินโดนีเซีย เรื่อง “Lelaki Harimau” (ชื่อในฉบับภาษาอังกฤษว่า “Man Tiger”) ซึ่งประพันธ์โดย Eka Kurniawan นักเขียนแถวหน้าของอินโดนีเซียในยุคปัจจุบัน โดยมี Benedict Anderson นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เขียนคำนำและกล่าวยกย่องหนังสือเล่มนี้ว่า “นี่คือผลงานที่โดดเด่นเป็นตัวของตัวเองสูง มีจินตนาภาพลึกซึ้งและสง่างามที่สุดในแวดวงวรรณกรรมอินโดนีเซียขณะนี้ เปรียบได้ราวกับอุกกาบาตที่ไม่มีใครเคยคาดคิด ซึ่งเรืองรองและสุกสกาวที่สุด”       ​ เพื่อให้เกิดพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อวรรณกรรมด้งกล่าว สำนักพิมพ์ Lighthouse Publishing ผู้จัดพิมพ์จึงได้จัดงานเสวนา “สมิงสำแดง วรรณกรรมอินโดนีเซียบนเวทีโลก” ณ ร้านหนังสือKinokuniya สาขาสยามพารากอน เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2561 ในงานนี้มีอาจารย์เพ็ญศรี พานิช ผู้แปล อาจารย์ทรรศนะ นวลสมศรี บรรณาธิการ อาจารย์ประจำหลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ ผศ. ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมเสวนา โดยมีคุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี หรือสิงห์สนามหลวง ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน ในงานมีผู้สนใจเข้าร่วมหลากหลาย ทั้งนักเขียน นักวิชาการ นักศึกษา สื่อมวลชน ผู้สนใจในภาษาอินโดนีเซีย ฯลฯ นอกเหนือจากประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงกันมากแล้วเกี่ยวกับลักษณะการประพันธ์ในแบบสัจนิยมมหัศจรรย์ ในฐานะนักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ผู้ร่วมเสวนาได้หยิบยกประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่ปรากฏผ่านวรรณกรรมชิ้นดังกล่าว เช่น ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ภาวะสังคมอินโดนีเซียหลังยุคระเบียบใหม่ที่เข้าสู่ยุคปฏิรูป ประเด็นเรื่องเพศ ความหลากหลายของศาสนาอิสลามในอินโดนีเซีย การนำเสนอความเป็นท้องถิ่นของอินโดนีเซีย ความสามารถเชิงวรรณศิลป์ของผู้เขียน ตลอดจนความเคลื่อนไหวของแวดวงวรรณกรรมอินโดนีเซียในปัจจุบัน             สำหรับผู้สนใจ “สมิงสำแดง” สามารถติดต่อซื้อได้ที่หลักสูตรอาเซียนศึกษา หรือสำนักพิมพ์ Lighthouse Publishing รวมถึงช่องทางการสั่งซื้อออนไลน์ต่างๆ

Read More »

ผลงานโดยหลักสูตรอาเซียนศึกษา ตีพิมพ์และเผยแพร่แล้ว

ผลงานโดยหลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตีพิมพ์และเผยแพร่แล้วทั่วประเทศ เล่มแรก “ไทยใต้ มลายูเหนือ: ปฏิสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์บนคาบสมุทรแห่งความหลากหลาย” หนังสือรวมบทความแปลที่หลักสูตรอาเซียนศึกษา จัดพิมพ์ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) บรรณาธิการฉบับภาษาไทย โดย อาจารย์จิรวัฒน์ แสงทอง อาจารย์ประจำหลักสูตรอาเซียนศึกษา และ ผศ. ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร             “ไทยใต้ มลายูเหนือฯ” แปลจาก “Thai South and Malay North: Ethnic Interactions on a Plural Peninsula” หนังสือรวมบทความวิชาการที่จัดพิมพ์โดย NUS Press มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ โดยมีไมเคิล เจ. มอนเตซาโน (Michael …

Read More »

พจนานุกรมภาษาอินโดนีเซีย-ไทย และภาษาไทย-อินโดนีเซีย ฉบับพกพา

อาจารย์เพ็ญศรี พานิช นางสาวไซนีย์ ตำภู และนางสาวกัลยาณี เกตุแก้ว ได้จัดพิมพ์พจนานุกรมฉบับพกพาภาษาอินโดนีเซีย-ไทย และภาษาไทย-อินโดนีเซีย  โดยพจนานุกรมนี้ถือเป็นเอกสารภูมิภาคศึกษา ชุดตำราและคู่มือภาษา ลำดับที่ 1 ภายใต้ชุดโครงการจัดทำพจนานุกรมภาษาอินโดนีเซีย-ไทย ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และโครงการภาษาอินโดนีเซียสำหรับนักศึกษาต่างชาติ (BIPA) มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โครงการฯ มุ่งหวังว่า พจนานุกรมฉบับพกพาภาษาอินโดนีเซีย-ไทย และภาษาไทย-อินโดนีเซีย จะเป็นคู่มือที่ช่วยในการค้นคว้าวิจัยด้านอินโดนีเซียศึกษาต่อไป

Read More »

อาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล เข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ประจำปี 2557 ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2557 อาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล อาจารย์ประจำหลักสูตรอาเซียนศึกษา ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ประจำปี 2557 ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ณ เวทีเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ถ.เจริญกรุง กรุงเทพฯ การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้านในงานประกอบด้วยการแสดงทั้งหมด 8 ประเภท ได้แก่ วงสะล้อ ซอ ซึง วงมังคละ วงกลองยาว วงแตรวง วงพิณ แคน โปงลาง วงกันตรึม วงโนรา และดิเกร์ฮูลูงาน โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงเป็นวิศิษฏศิลปิน และเพื่อส่งเสริมการปลูกฝัง ถ่ายทอดดนตรีและการแสดงพื้นบ้านให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนวงดนตรีและการแสดงพื้นบ้านให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

Read More »

หนังสือรวมเรื่องสั้นและบทกวีของอาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชั้นนำในมาเลเซีย

ผลงานรวมเรื่องสั้นและบทกวีในภาษามลายู ในชื่อ Pantai Ini Lautnya Dalam (ทะเลนี้น้ำลึก) ประกอบด้วยเรื่องสั้น 10 เรื่อง และบทกวี 28 ชิ้น ที่ประพันธ์โดยอาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล จากหลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ITBM-PENA ในประเทศมาเลเซีย ผลงานเล่มดังกล่าวนี้เป็นการรวมงานประพันธ์ที่กลั่นประสบการณ์ในการเฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสังคมมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยและวิถีความเป็นไปของมุสลิมในสังคมไทยกว่าทศวรรษ การตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้เผยแพร่อย่างกว้างขวางในประเทศมาเลเซีย จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักอ่านชาวมาเลเซียได้สัมผัสผลงานวรรณกรรมของนักเขียนไทย และเอื้อประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจสังคมมุสลิมไทยอย่างลึกซึ้งมากขึ้น

Read More »

หนังสือแปลรวมเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ ปี 2556 “เสือสิบเจ็ดตัวของลูตา” ซึ่งแปลโดยอาจารย์เพ็ญศรี พานิช และคณะ จากหลักสูตรอาเซียนศึกษา ได้รับการตีพิมพ์

รวมเรื่องสั้นชุด “Seekor Anjing Mati di Bala Murghub” โดยลินดา คริสตานตี (Linda Christanty) นักเขียนสตรีชาวอินโดนีเซีย ซึ่งได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์) ประจำปี 2556 ได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทยภายใต้ชื่อ “เสือสิบเจ็ดตัวของลูตา” โดยอาจารย์เพ็ญศรี พานิช อาจารย์จิรวัฒน์ แสงทอง อาจารย์ทรรศนะ นวลสมศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรอาเซียนศึกษา และนางสาววรันทร ฉะพงศ์ภพ นักศึกษาหลักสูตรอาเซียนศึกษา “Seekor Anjing Mati di Bala Murghub” ถ่ายทอดเรื่องราวประเด็นทางสังคม การเมือง ศาสนา เพศสภาพ และภาวะปัจเจกในของสังคมอินโดนีเซีย โดยใช้วิธีการในแนวสัจสังคมและสัจนิยมมหัศจรรย์ คณะผู้แปลได้เลือกเรื่องสั้นทั้งหมดจำนวน 13 เรื่อง เพื่อแปลเป็นภาษาไทยและได้รับการตีพิมพ์โดยความร่วมมือระหว่างสำนักพิมพ์นาคร และศูนย์ศึกษาภาษา สังคม และวัฒนธรรมอาเซียน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน …

Read More »
Sahifa Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.