Breaking News

ความเคลื่อนไหวของหลักสูตร

July, 2561

  • 9 July

    กิจกรรม ASEAN Kitchen การเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านอาหารและฝึกทำอาหารประจำชาติ

    กิจกรรม ASEAN Kitchen การเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านอาหารและฝึกทำอาหารประจำชาติโดยนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก State University of Surabaya ประเทศอินโดนีเซีย และ Haiphong University ประเทศเวียดนาม ร่วมกับนักศึกษาและคณาจารย์หลักสูตรอาเซียนศึกษา       กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ WU Field Experience Project ที่หลักสูตรอาเซียนศึกษาจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาหลักสูตรอาเซียนศึกษาได้พัฒนาทักษะทางภาษาอินโดนีเซียและเวียดนามกับเจ้าของภาษาเป็นระยะเวลา 1 เดือนระหว่างปิดภาคเรียน และเพื่อให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก State University of Surabaya ประเทศอินโดนีเซียและ Haiphong University ประเทศเวียดนามได้ฝึกประสบการณ์ในการสอนภาษา การเรียนรู้สังคมและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน             Facebook Comments Box

    Read More »
  • 8 July

    กิจกรรม “อาเซียนสัญจร”

    หลักสูตรอาเซียนศึกษาได้จัดกิจกรรม “อาเซียนสัญจร” โดยได้ประสานงานกับโรงเรียนต่างระดับมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลาเพื่อเข้าแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตร ระหว่างวันที่ 26 – 29 มิถุนายน 2561 จำนวนทั้งสิ้น 7 โรงเรียน คือ โรงเรียนตะโหมด โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม โรงเรียนพัทลุงพิทยาคม โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกัลยา โรงเรียนมหาวชิราวุธ โรงเรียนสทิงพระวิทยา โดยมีจำนวนนักเรียนเข้าร่วมทั้งหมด 442 คน จากผลการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่านักเรียนรู้จัก/มีความเข้าใจต่อหลักสูตรในระดับมากและมีความสนใจที่จะเข้าเรียนในหลักสูตรในระดับพอใช้ อย่างไรก็ตาม นักเรียนกลุ่มดังกล่าวจะเป็นกลุ่มที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2562 ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างต่อเนื่องไปยังโรงเรียนอื่นๆ และติดตามประเมินผลเป็นระยะๆ “ASEAN Roadshow” ASEAN studies Program arranged “ASEAN Roadshow” in Pattalung and Songkhla Province between 26th – 29th June 2018. Main objective …

    Read More »
  • 6 July

    โครงการจัดการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียนในประเทศอินโดนีเซีย

    หลักสูตรอาเซียนศึกษากำหนดให้นักศีกษาระดับชั้นปีที่ 3 ซึ่งเรียนวิชา INA-341 การศึกษาภาษาอินโดนีเซียในประเทศอินโดนีเซีย เดินทางไปศึกษายังสถาบันหารศึกษาในประเทศอินโดนีเซียเพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพเหมือนเจ้าของภาษา ได้เรียนรู้วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ สังคม วัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ รวมทั้งจะทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์เพื่อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อในอนาคต ในภาคการศึกษาที่ 2/2560 – 3/2560 นักศึกษาหลักสูตรอาเซียนศึกษาจำนวน 30 คน เดินทางไปศึกษาภาษาและวัฒนธรรม ณ Universitas Negeri Malang โดยตลอดระยะเวลา 2 ภาคการศึกษา (ประมาณ 6 เดือน) นักศึกษาได้ศึกษาภาษาอินโดนีเซียกับเจ้าของภาษา เรียนรู้วัฒนธรรมของชุมชนผ่านกิจกรรมโฮมสเตย์ รวมถึงได้มีโอกาสไปทัศนศึกษายังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆอีกด้วย Facebook Comments Box

    Read More »
  • 6 July

    กิจกรรมต้อนรับผู้บริหารและนักศึกษาแลกเปลี่ยนโครงการ WU Field Experience Project

    ในวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา หลักสูตรอาเซียนศึกษาได้ต้อนรับ Drs. Slamet Setiawan, Ph.D รองคณบดีคณะภาษาและศิลปะ จาก State University of Surabaya ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเดินทางมาส่งนักศึกษาแลกเปลี่ยน จำนวน 2 คน พร้อมทั้งนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Haiphong University ประเทศเวียดนาม จำนวน 3 คน มาฝึกฝนปฏิบัติงานตามโครงการ WU Field Experience Project ระหว่างวันที่ 3 – 31 กรกฎาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์      การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ หลักสูตรฯ ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต อาจารย์ปิยนุช ขุนสวัสดิ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร อาจารย์คำแก้ว มณีโรจน์ ผู้ประสานงานหลักสูตรภาษาอังกฤษ …

    Read More »

May, 2561

  • 10 May

    คณาจารย์หลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมเสวนาในงานเปิดตัววรรณกรรมแปล “สมิงสำแดง”

    “สมิงสำแดง” ได้รับการแปลโดย อาจารย์เพ็ญศรี พานิช อาจารย์ประจำหลักสูตรอาเซียนศึกษา จากต้นฉบับภาษาอินโดนีเซีย เรื่อง “Lelaki Harimau” (ชื่อในฉบับภาษาอังกฤษว่า “Man Tiger”) ซึ่งประพันธ์โดย Eka Kurniawan นักเขียนแถวหน้าของอินโดนีเซียในยุคปัจจุบัน โดยมี Benedict Anderson นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เขียนคำนำและกล่าวยกย่องหนังสือเล่มนี้ว่า “นี่คือผลงานที่โดดเด่นเป็นตัวของตัวเองสูง มีจินตนาภาพลึกซึ้งและสง่างามที่สุดในแวดวงวรรณกรรมอินโดนีเซียขณะนี้ เปรียบได้ราวกับอุกกาบาตที่ไม่มีใครเคยคาดคิด ซึ่งเรืองรองและสุกสกาวที่สุด”       ​ เพื่อให้เกิดพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อวรรณกรรมด้งกล่าว สำนักพิมพ์ Lighthouse Publishing ผู้จัดพิมพ์จึงได้จัดงานเสวนา “สมิงสำแดง วรรณกรรมอินโดนีเซียบนเวทีโลก” ณ ร้านหนังสือKinokuniya สาขาสยามพารากอน เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2561 ในงานนี้มีอาจารย์เพ็ญศรี พานิช ผู้แปล อาจารย์ทรรศนะ นวลสมศรี บรรณาธิการ อาจารย์ประจำหลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ ผศ. ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมเสวนา โดยมีคุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี หรือสิงห์สนามหลวง ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน ในงานมีผู้สนใจเข้าร่วมหลากหลาย ทั้งนักเขียน นักวิชาการ นักศึกษา สื่อมวลชน ผู้สนใจในภาษาอินโดนีเซีย ฯลฯ นอกเหนือจากประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงกันมากแล้วเกี่ยวกับลักษณะการประพันธ์ในแบบสัจนิยมมหัศจรรย์ ในฐานะนักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ผู้ร่วมเสวนาได้หยิบยกประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่ปรากฏผ่านวรรณกรรมชิ้นดังกล่าว เช่น ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ภาวะสังคมอินโดนีเซียหลังยุคระเบียบใหม่ที่เข้าสู่ยุคปฏิรูป ประเด็นเรื่องเพศ ความหลากหลายของศาสนาอิสลามในอินโดนีเซีย การนำเสนอความเป็นท้องถิ่นของอินโดนีเซีย ความสามารถเชิงวรรณศิลป์ของผู้เขียน ตลอดจนความเคลื่อนไหวของแวดวงวรรณกรรมอินโดนีเซียในปัจจุบัน             สำหรับผู้สนใจ “สมิงสำแดง” สามารถติดต่อซื้อได้ที่หลักสูตรอาเซียนศึกษา หรือสำนักพิมพ์ Lighthouse Publishing รวมถึงช่องทางการสั่งซื้อออนไลน์ต่างๆ Facebook Comments Box

    Read More »
  • 7 May

    ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่ได้รับรางวัลในงานนำเสนอผลงานวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 8

    ขอแสดงความยินดีกับนางสาวธิดาทิพย์ ศรีสุข และนางสาวทัสนีม เจ๊ะเต ที่ได้รับรางวัลการนำเสนอบทความดีเด่น จากผลงานเรื่อง “Cerita Calon Arong: ตำนานหญิงม่ายในเมืองอาถรรพ์ เขียนหญิงโดยชายในวรรณกรรมอินโดนีเซีย” ในงานนำเสนอผลงานวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 8 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2561 Cerita Calon Arong เป็นวรรณกรรมภาษาอินโดนีเซียที่เขียนโดย Pramoedya Ananta Toer นักเขียนชั้นแนวหน้าของวงการวรรณกรรมอินโดนีเซีย นักศึกษาทั้งสองได้เลือกแปลผลงานชิ้นดังกล่าวจากภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาไทยเพื่อนำเสนอในรายวิชา ASE-401 โครงงานอาเซียนศึกษา ในโครงงานประเภทวรรณกรรมแปล จากนั้นได้นำมาพัฒนาให้เป็นบทความวิชาการเพื่อนำเสนอในงานดังกล่าว โดยความสนใจในงานวรรณกรรมอินโดนีเซียนั้นเกิดขึ้นระหว่างที่นักศึกษาได้ไปศึกษาภาษาและวัฒนธรรมอินโดนีเซีย ณ Universitas Negeri Malang ประเทศอินโดนีเซีย เป็นระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างศึกษาในชั้นปีที่ 3 งานนำเสนอผลงานวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 8 นี้ มีนักศึกษาจากทั่วประเทศสนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานกว่า …

    Read More »
  • 4 May

    ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานการศึกษาค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์และอาณาบริเวณศึกษาของนิสิตปริญญาตรีระดับประเทศ ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ

    ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวกัสติมา ไทยเมือง นายศุภกร ยกย่อง นางสาวศุภพาพร สมใจหมาย และนางสาวจตุพร หน่อคำหล้า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่คว้าสามรางวัลจาก "โครงการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่: การนำเสนอผลงานการศึกษาค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์และอาณาบริเวณศึกษาของนิสิตปริญญาตรีระดับประเทศ" ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2561 นางสาวกัสติมา ไทยเมือง และนายศุภกร ยกย่อง ได้รับรางวัลบทความดีเด่นและรางวัลการนำเสนอดีเด่นจากผลงานเรื่อง “The Journey of Batu: แรงปรารถนาแบบอาณานิคม เมืองท่องเที่ยวแห่งชาติอินโดนีเซีย และ Museum Angkut ในกระแสวัฒนธรรมโลก” ซึ่งเป็นบทความวิชาการที่พัฒนามาจากผลงานในรายวิชา ASE-401 โครงงานอาเซียนศึกษา ประเภทวิดีโอสารคดีเรื่อง “Museum Angkut: มนต์เสน่ห์แห่งการท่องเที่ยว” ที่นักศึกษาทั้งสองดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนามในเมืองบาตู ในขณะเรียนภาษาและวัฒนธรรมอินโดนีเซียอยู่ที่ Universitas Negeri …

    Read More »
  • 4 May

    นายชาศร เถาว์สุวรรณ และนายอภินันท์ ชุมนวลได้รับรางวัลในการนำเสนอบทความยอดเยี่ยมในการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรี “ศิลปศาสตร์วิจัยวลัยลักษณ์” ครั้งที่ 3 ประจำปี 2561

    ขอแสดงความยินดีกับนายชาศร เถาว์สุวรรณ และนายอภินันท์ ชุมนวล นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลในการนำเสนอบทความยอดเยี่ยมจากงานกลุ่มงานด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และชุมชนท้องถิ่น ในการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรี “ศิลปศาสตร์วิจัยวลัยลักษณ์” ครั้งที่ 3 ประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 ด้วยผลงานบทความวิชาการเรื่อง “การเดินทางของควัน: วัฒนธรรมความเป็นชายและนัยยะทางเศรษฐกิจของบุหรี่ในอินโดนีเซียร่วมสมัย” ซึ่งทั้งสองได้พัฒนาจากผลงานในรายวิชาโครงงานอาเซียนศึกษาที่จัดทำในรูปแบบโครงงานวิดีโอสารคดี และเก็บข้อมูลจากประเทศอินโดนีเซียในขณะที่ศึกษาอยู่ ณ Universitas Negeri Malang เป็นเวลา 6 เดือนตามโครงการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมอินโดนีเซียในประเทศอินโดนีเซีย เวทีการนำเสนอครั้งนี้มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สนใจส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 30 ชิ้น โดยแบ่งห้องในการนำเสนอเป็น 3 ห้อง ได้แก่ คือ กลุ่มภาษา วรรณกรรม และการศึกษา กลุ่มประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ …

    Read More »

April, 2561

  • 27 April

    การประชุมร่วมระหว่างอาจารย์-นักศึกษา หลักสูตรอาเซียนศึกษา ภาคการศึกษา 3/2560

    หลักสูตรอาเซียนศึกษาได้จัดการประชุมร่วมระหว่างอาจารย์-นักศึกษา หลักสูตรอาเซียนศึกษา ภาคการศึกษา 3/2560 ในวันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ.2561 เวลา 17.00-18.00 น. ณ ห้อง 3209 อาคารเรียนรวม 3 เพื่อชี้แจงข้อมูลและทำความเข้าใจแก่นักศึกษาในเรื่องการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาในแต่ละชั้นปี ในภาคการศึกษาที่ 1/2561 กำหนดการกิจกรรมพบอาจารย์ที่ปรึกษา และกิจกรรมสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำกว่า 2.25 การแลกเปลี่ยนนักศึกษาจากอินโดนีเซียและเวียดนาม ในช่วงต้นภาคการศึกษาที่ 1/2561 รวมถึงเรื่องแนวทางการประชาสัมพันธ์หลักสูตรเพื่อขอความร่วมมือกับนักศึกษาในการเผยแพร่ข้อมูล โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 1,2 และ 4 เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ (นักศึกษาชั้นปีที่ 3 อยู่ระหว่างการไป In-Country ณ ประเทศเจ้าของภาษา) ประมวลภาพ Facebook Comments Box

    Read More »
  • 9 April

    ผลงานโดยหลักสูตรอาเซียนศึกษา ตีพิมพ์และเผยแพร่แล้ว

    ผลงานโดยหลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตีพิมพ์และเผยแพร่แล้วทั่วประเทศ เล่มแรก “ไทยใต้ มลายูเหนือ: ปฏิสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์บนคาบสมุทรแห่งความหลากหลาย” หนังสือรวมบทความแปลที่หลักสูตรอาเซียนศึกษา จัดพิมพ์ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) บรรณาธิการฉบับภาษาไทย โดย อาจารย์จิรวัฒน์ แสงทอง อาจารย์ประจำหลักสูตรอาเซียนศึกษา และ ผศ. ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร             “ไทยใต้ มลายูเหนือฯ” แปลจาก “Thai South and Malay North: Ethnic Interactions on a Plural Peninsula” หนังสือรวมบทความวิชาการที่จัดพิมพ์โดย NUS Press มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ โดยมีไมเคิล เจ. มอนเตซาโน (Michael …

    Read More »
Sahifa Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.