cropped-03-praduu-abbreviation.png

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเอเชียศึกษา

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเอเชียศึกษา
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Asian Studies


ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เอเชียศึกษา)
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy (Asian Studies)


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเอเชียศึกษา คือ การศึกษาวิจัยแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) โดยมี “เอเชีย” เป็นหน่วยของการวิเคราะห์และค้นคว้าวิจัยที่ครอบคลุมในทุกมิติตั้งแต่ระบบคิด ปรัชญา อารยธรรม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ศาสนา และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ โดยมีหลักปรัชญาเป้าหมายคือ

  1. เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการวิจัยเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชีย อันตอบสนองนโยบายการศึกษาและการพัฒนาประเทศ
  2. เพื่อพัฒนาความรู้และการวิจัยในเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
  3. เพื่อเชื่อมโยงกับเครือข่ายเอเชียศึกษาทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

  1. ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือกำลังอยู่ในภารการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ไทยศึกษา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เอเชียศึกษา เอเชียตะวันออกศึกษา และสาขาวิชาอื่นๆที่ข้ามศาสตร์ ซึ่งคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรฯ เห็นชอบ
  2. เป็นผู้ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.00 และ/หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอย่างน้อย 2 ปี และจะต้องผ่านการประเมินว่ามีศักยภาพในการวิจัย

แนวทางประกอบอาชีพ
1. นักวิชาการ/นักวิจัยที่มีศักยภาพในการวิจัย การผลิตความรู้ และการจัดการความรู้เกี่ยวกับ “เอเชีย”
2. อาจารย์ทางด้านเอเชียศึกษาในสถาบันระดับอุดมศึกษา
3. นักบริหารงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ
4. นักพัฒนาองค์กรเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ


แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในระดับ Postdoctoral ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งมหาวิทยาลัยในประเทศและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม
15,000 บาท/ภาคการศึกษา


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 16 หน่วยวิชา

หลักสูตรแบบ 2.1
1. หมวดวิชาบังคับ 3  หน่วยวิชา
– กลุ่มวิชาทฤษฎี 2 หน่วยวิชา
– กลุ่มวิชาเฉพาะเอเชียศึกษา 1 หน่วยวิชา
– กลุ่มวิชาระเบียบวิธีวิจัย (ไม่นับหน่วยวิชา) (4) หน่วยวิชา
2. หมวดวดิชาเลือก (ไม่น้อยกว่า 1 หน่วยวิชา
3. หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยวิชา

Facebook Comments Box