03-praduu-abbreviation-01

หน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา

หน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา ตั้งขึ้นเพื่อทำการศึกษาวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาบัณฑิตและขยายพรมแดนแห่งความรู้ด้านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระดับลึกซึ้ง นอกจากนี้หน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษายังมีหน้าที่สร้างเครือข่ายกับนักวิชาการ ในประเทศใกล้เคียงแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันอื่นๆ  ที่ทำการค้นคว้าวิจัยในเขตภูมิภาคนี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นแหล่งบริการวิชาการ และเป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีองค์ความรู้ทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในระดับภูมิภาคและนานาชาติ โดยมีเป้าหมายสำคัญ 3 ประการ คือ

          1) มีนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตความรู้และงานวิจัยเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          2) มีการจัดสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะทำให้หลักสูตรภูมิภาคศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มีเครือข่ายสัมพันธ์กับนักวิจัย/ นักวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          3) มีรายงานการวิจัยหรือบทความทางวิชาการที่เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

โครงการวิจัย

          คณาจารย์และนักวิจัยของหน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษาได้ดำเนินโครงการวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยประเด็นการวิจัยมุ่งเน้นประเด็นปัญหาสำคัญของวงวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ตัวอย่างงานวิจัยจำนวนหนึ่ง เช่น

          1. อิสลามฮาฏอรีย์: ศึกษาการพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวปฏิรูปสังคมมุสลิมภายใต้การนำของนายกฯ อับดุลเลาะห์ บาดาวี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

          2. วรรณกรรมมลายู: อิสลามกับการสร้างอัตลักษณ์ของชาวมลายูมุสลิมปาตานี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

          3. ตามรอยสายสัมพันธ์วัฒนธรรมไทย-มลายู: ศึกษากรณีคนไทยในรัฐเคดะห์และรัฐกลันตัน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

          4. วัดไทยในกลันตัน: การปรับเปลี่ยนมิติทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวพุทธในรัฐมุสลิม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สกว.

          5. อิสลามตะวันออกเฉียงใต้กับขบวนการเคลื่อนไหวมุสลิมบริเวณตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

          6. ภาพยนตร์กับอัตลักษณ์: ความเป็นมลายูในการก่อรูปภาพยนตร์แห่งชาติมาเลเซีย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สกว.

          7. พจนานุกรมภาษาอินโดนีเชีย-ไทยฉบับสมบูรณ์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สกว.

          8. สารานุกรมภาพยนตร์อินโดนีเซีย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก หอภาพยนตร์ (องค์กรมหาชน)

          9. สารานุกรมภาพยนตร์มาเลเซีย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก หอภาพยนตร์ (องค์กรมหาชน)

         10. คุณวรรณ โมฮาหมัด (Goenawan Mohammad): นักคิดและเข็มทิศทางปัญญาของสังคมอินโดนีเซีย ภายใต้ชุดโครงการ ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน: เรียนรู้เพื่อร่วมเดินไปข้างหน้าด้วยกัน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สกว.

         11. กิดลัต ตาฮิมิก (Kidlat Tahimik): ภาพยนตร์ฟิลิปปินส์และการจาริกทางศิลปะในโลกหลังอาณานิคม ภายใต้ชุดโครงการ ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน: เรียนรู้เพื่อร่วมเดินไปข้างหน้าด้วยกัน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สกว.

งานสัมมนาวิชาการระดับชาติและนานาชาติ

          หน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา ได้ดำเนินการจัดการสัมมนาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ด้วยเห็นความสำคัญของการสังสรรค์ทางวิชาการของนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนักวิชาการชาวไทย และนักวิชาการชาวต่างประเทศ งานสัมมนาทางวิชาการในประเด็นสำคัญร่วมสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งผ่านการนำเสนอและอภิปรายโดยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในประเด็นนั้นๆ จะมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในประเทศไทย เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ คณาจารย์และนักศึกษาจากหลักสูตรภูมิภาคศึกษา รวมถึงผู้สนใจ ได้สัมผัสบรรยากาศและประเด็นสดใหม่ทางวิชาการองค์ความรู้เหล่านี้สามารถนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ของสังคมไทยต่อความเข้าใจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหลากหลายปัญหาที่สังคมไทยเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบัน

          ในช่วงเวลาที่ผ่านมา หน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา ได้จัดงานสัมมนาทางวิชาการที่สำคัญ ตัวอย่างคือ

          1. การประชุมวิชาการนานาชาติเรื่อง มาเลเซียหลังยุคมหาเธร์ (Malaysia After Mahathir) จัดโดยโครงการภูมิภาคศึกษา  ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 18-19 ตุลาคม 2546   

           เป้าหมายสำคัญของการจัดสัมมนาครั้งนี้ คือ เพื่อเป็นเวทีสัมมนา พูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างนักวิชาการ และผู้สนใจทั้งหลายในประเด็นเรื่องอนาคตของประเทศมาเลเซียภายหลังมหาเธร์ และประเด็นปัญหาอื่นๆ ที่อาจกระทบต่อความสัมพันธ์กับประเทศไทยในอนาคต และเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ในประเด็นเรื่องมาเลเซียศึกษาในแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยผ่านแนวคิดที่เป็นระบบและหลากหลาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ที่สนใจและนักวิชาการอิสระอื่นๆ โดยมีนักวิชาการมีชื่อเสียงทั้งชาวไทยและต่างประเทศหลายคนกรุณาเดินทางมาเป็นวิทยากร คือ รศ.ดร.ภูวดล ทรงประเสริฐ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์), รศ.ดร.ชัยโชค จุลศิริวงศ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), อ.สุกรี หวังปูเต๊ะ (วิทยาลัยอิสลามยะลา), Dr Narayanan Ganesan (National University of Singapore), Dr Terence Gomez (University of Malaya), Mr Daniel Slater (Institute of Southeast Asian Studies, Singapore), Dr. Khadijah Md. Khali

          2. การประชุมวิชาการนานาชาติเรื่อง คาบสมุทรแห่งความหลากหลาย: ปฏิสัมพันธ์เชิงประวัติศาสตรระหว่างเชื้อชาติไทย, มลายู, จีน และเชื้อชาติอื่น (A Plural Peninsula: Historical Interactions among the Thai, Malays, Chinese, and Others) จัดโดยโครงการภูมิภาคศึกษา ร่วมกับสถาบันวิจัยเอเชีย มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (Asia Research Institute, National University of Singapore), สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระหว่างวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2547

          เป้าหมายสำคัญของการประชุมวิชาการครั้งนี้ คือการนำเสนอบทความ แลกเปลี่ยน และอภิปรายร่วมกันของบรรดานักวิชาการ ในประเด็นประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และชาติพันธุ์ ของผู้คนซึ่งอาศัยอยู่บนพื้นที่คาบสมุทรมลายู หรือบริเวณภาคใต้ของไทยและประเทศมาเลเซียส่วนซึ่งมีอาณาเขตติดกับไทยในปัจจุบัน เป็นการทำความเข้าใจปฏิสัมพันธุ์ระหว่างกันในมิติต่างๆ เหล่านั้นโดยข้ามพรมแดนของรัฐชาติที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ โดยมีนักวิชาการเข้าร่วมในการประชุมฯ ประมาณ 20 คนจากหลายประเทศ ล้วนแต่เป็นนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติในสาขาการศึกษาของตน ตัวอย่างนักวิชาการคนสำคัญที่เข้าร่วมในการประชุมฯ ครั้งนี้คือ Prof. Anthony Reid, Prof. David Wyatt, Prof. Hohammed Yusoff Ismail, Dr. Michael Montesano, Dr. James Ockey, Dr. Patrick Jory, Dr. Alexander Horstmann, Mr. Wong Yee-Tuan, ศ. สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์, ศ.ดร. กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร, รศ. ดร. ชุลีพร วิรุฬหะ, รศ.ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ดร. สุเนตร ชุตินาธรานนท์, อ. ทวีศักดิ์ เผือกสม เป็นต้น

          บทความจากการประชุมวิชาการครั้งนี้ ในเวลาต่อมาได้ถูกรวบรวมจัดพิมพ์เป็นหนังสือซึ่งมี Dr. Michael J. Montesano และ Dr. Patrick Jory เป็นบรรณาธิการ ชื่อ Thai South and Malay North: Ethnic Interactions on a Plural Peninsula จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ National University of Singapore Press (2008)

          3. การประชุมวิชาการนานาชาติเรื่อง เลือกตั้งอินโดนีเซีย 2004: อวสานยุคปฏิรูป? (Indonesian Election 2004: End of Reformasi?ซึ่งหน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา จัดร่วมกับสถานกงสุลอินโดนีเซีย ประจำจังหวัดสงขลา ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547

          งานสัมมนาดังกล่าวนี้ จัดขึ้นในช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งทั่วไปอินโดนีเซีย ปี พ.ศ. 2547 เพื่ออภิปรายต่อประเด็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของอินโดนีเซีย ทั้งเพื่อการทบทวนและประเมินถึงความเปลี่ยนแปลงของอินโดนีเซีย ทั้งช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในอินโดนีเซีย ซึ่งย่อมส่งผลต่อทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในภาพรวม และประเทศไทยโดยไม่อาจหลีกเลี่ยง

          การประชุมทางวิชาการครั้งนี้ มีนักวิชาการที่ร่วมนำเสนอบทความและอภิปรายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ อาทิเช่น ดร. วิทยา สุจริตธนารักษ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), อ. ทวีศักดิ์ เผือกสม (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์), อ. อรอนงค์ ทิพย์พิมล, (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์), Dr. Hermawan Sulistyo (Indonesia), Dr. Aris Arif Mundayat (Indonesia), Dr. Priyambudi Sulistiyanto (Singapore), Dr. Harry Aveling (Australia) เป็นต้น

        4. การสัมมนาวิชาการนานาชาติเรื่อง สรรพเสียงแห่งอิสลามในยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Voices of Islam in Europe and Southeast Asia) จัดโดยโครงการภูมิภาคศึกษา ร่วมกับภาควิชาเอเชียศึกษา สำนักวิชาการศึกษาข้ามวัฒนธรรมและภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ก (The Department of Asian Studies, Institute of Cross-Cultural and Regional Studies, University of Copenhagen) ณ โรงแรมทวินโลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 20-22 มกราคม 2549

        การสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้ มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การพยายามทำความเข้าใจพลวัตรในมิติต่างๆ ของชุมชนมุสลิมในทวีปยุโรป และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะนับตั้งแต่ช่วงหลังเหตุการณ์ “11 กันยายน” และการรณรงค์ “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก การสัมมนาฯ ครั้งนี้มีเนื้อหาอันมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ ประกอบไปด้วยการนำเสนอบทความของนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านอิสลามศึกษาจากหลากหลายสาขาวิชาการ ทั้งจากทวีปยุโรปและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอย่างนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ อาทิเช่น Prof. Dick van der Meij, Prof. Azyumardi Azra, Dr. Margit Warburg, Dr. Morten Warmind, Dr. Mathias Diederich, Prof. Carmen Abu Bakar, Prof. Shamsul Amri Baharuddin, Prof. Omar Farouk Bajunid, Assoc. Prof. Mona Abaza, Assoc. Prof. Ibrahim Abu Bakar, Dr. Alexander Hortsmann, Dr. Cynthia Chou, Dr. Muhd. Nur Manuty, Dr. Noorhaidi Hasan, Dr. Iik Arifin Mansurnoor, Dr. Christopher M. Joll, รศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, ดร. หะสัน หมัดหมาน, ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม, อ. อับดุลราซัก ปาแนมาแล, ดร. สุกรี หลังปูเต๊ะ เป็นต้น

          5. การสัมมนาทางวิชาการนานาชาติเรื่อง สรรพเสียงแห่งอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สำหรับนักวิชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รุ่นใหม่) (Voices of Islam in Southeast Asia- for young Southeast Asian scholars) จัดโดยโครงการภูมิภาคศึกษา ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2550

          การสัมมนาทางวิชาการเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการสานต่อความสำเร็จจากการจัดสัมมนาเรื่อง “สรรพเสียงแห่งอิสลามในยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”หากแต่กรอบพื้นที่สำหรับการอภิปรายได้เน้นเพียงแค่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสำคัญ ขณะที่โจทย์สำคัญในการสัมมนาฯ ยังคงเป็นการทำความเข้าใจพลวัตรของสังคมมุสลิมในช่วงสถานการณ์ร่วมสมัย และเน้นการเข้าร่วมนำเสนอประเด็นทางวิชาการโดยนักวิชาการรุ่นใหม่จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะกลายเป็นนักวิชาการสำคัญในอนาคต ประเด็นที่มีการนำเสนอในการสัมมนาฯ ครั้งนี้มีความหลากหลาย ครอบคลุมทั้งในมิติของอุดมการณ์ ภูมิปัญญา กฎหมาย การศึกษา ความรุนแรง เพศสภาพ สื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ฯลฯ ผ่านการนำเสนอของนักวิชาการรุ่นใหม่จากสถาบันการศึกษาหลายประเทศ อาทิเช่น อัมพร หมาดเด็น, สุลัยมาน ดอเลาะ, ไฟซอล หะยีอาวัง จากประเทศไทย, Luthfi Assyaukanie, Usep Abdul Matin, Ratno Lukito, Atin Prabandari, Heru Susetyo จากประเทศอินโดนีเซีย, Ramizah Wan Muhammad, Ahmad Fauzi Abdul Hamid, Farid Mat Zain, Ibrahim Abu Bakar จากประเทศมาเลเซีย, Carlo Casinto จากประเทศฟิลิปปินส์, Mira binti Yusef จากประเทศสหรัฐอเมริกา, Abdul Gaffar Karim จากประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น

          6. การสัมมนาวิชาการนานาชาติเรื่อง  รังนกแอ่น: ดินแดนลับแห่งนก คน และธุรกิจแสนล้านในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (On the Subject of Birds’ Nests: Secrets of Birds, People, and a Billion Dollar Business in Thailand and Southeast Asia)จัดโดยโครงการภูมิภาคศึกษา ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ในวันที่ 29 ตุลาคม 2550

          การสัมมนาวิชาการนานาชาติครั้งนี้ เป็นการพยายามทำความเข้าใจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการพิจารณาและอภิปรายกันถึงมิติต่างๆ ที่เกี่ยวพันอยู่กับนกแอ่น และรังนกแอ่น ซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล แต่องค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับทรัพยากรที่สำคัญนี้ซึ่งมีภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งผลิตหลักของโลกกลับยังคงมีความจำกัด การสัมมนาฯ ได้รวบรวมนักวิชาการและนักธุรกิจที่เชี่ยวชาญในเรื่องนกแอ่นและรังนกแอ่น เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนกันทั้งในประเด็นชีวภูมิศาสตร์ นิเวศวิทยา เครือข่ายธุรกิจ สังคมวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ความเชื่อและคติชนวิทยาซึ่งสัมพันธ์อยู่กับทรัพยากรธรรมชาตินี้

          นักวิชาการและนักธุรกิจผู้มีความเชี่ยวชาญซึ่งได้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ครั้งนี้ ประกอบไปด้วย Dato Sri Earl of Cranbrrok, Dr. Mohamed Yusoff Ismail, Dr. Lim Chan Koon, Mr. Hary K. Nugroho, ศ.ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ, ศ.ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง, ผศ. ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์, ดร. อุทัย ดุลยเกษม, อ. เกษม จันทร์ดำ, ผศ. ธัญญา สังขพันธานนท์, นายกมลศักดิ์ เลิศไพบูลย์ เป็นต้น

           7. งานสัมมนาวิชาการนานาชาติเรื่อง ภาพหลอกหลอน ณ ชายแดนใต้ของไทย: การเขียนประวัติศาสตร์ปาตานีและโลกอิสลาม (The Phantasm in Southern Thailand: History Writings on Patani and the Islamic World) เป็นงานสัมมนาฯ ที่โครงการภูมิภาคศึกษาร่วมกับจัดภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยได้กำหนดจัดที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 11-12 ธันวาคม 2552

          เป้าหมายสำคัญของงานสัมมนาฯ ครั้งนี้ คือความพยายามที่จะตอบคำถามและแสวงหาความเข้าใจต่อปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย โดยหันมาพิจารณาถึงประเด็นที่นักวิชาการและ ผู้สนใจปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญน้อยเสมอมา คือ ประเด็นสำนึกทางประวัติศาสตร์ คำถามสำคัญของงานสัมมนาฯจะอยู่ที่การตั้งคำถามและอภิปรายกันอย่างพินิจพิเคราะห์ต่อทุกมิติของประวัติศาสตร์ปาตานี และความสัมพันธ์กับโลกอิสลาม ด้วยตระหนักว่า ความรับรู้และสำนึกทางประวัติศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งสำคัญของความไม่เข้าใจระหว่างสังคมไทยกับสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และอาจเป็นส่วนหนึ่งของแรงผลักดันที่นำมาสู่ปัญหาความรุนแรงในปัจจุบัน

หนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์

          คณาจารย์และนักวิจัยประจำหน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา มีผลงานหนังสือตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง โดยผลงานเหล่านี้ถือกำเนิดขึ้นจากการทำงานภายใต้การสนับสนุนของหน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา ตัวอย่างจำนวนหนึ่งเช่น

 

เรื่อง: คนแปลกหน้านานาชาติของกรุงสยาม
ผู้เขียน: ผศ. ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม
จัดพิมพ์โดย: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน
ปีพิมพ์: 2546
เรื่อง: อินโดนีเซียรายา: รัฐจารีต สู่ “ชาติ” ในจินตนาการ
ผู้เขียน: ผศ. ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม
จัดพิมพ์โดย: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ
ปีพิมพ์: 2547
เรื่อง: เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม: ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ในสังคมไทย
ผู้เขียน: ผศ. ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม
จัดพิมพ์โดย: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีพิมพ์: 2550
เรื่อง: Thai South and Malay North: Ethnic Interactions on a Plural Peninsula
บรรณาธิการ: Michael J. Montesano and Patrick Jory
จัดพิมพ์โดย: Singapore: National University of Singapore Press
ปีพิมพ์: 2551
เรื่อง: ความแค้นและความสมานฉันท์: การทำความเข้าใจประวัติศาสตร์เอเชียใต้
ผู้เขียน: ราชโมฮัน คานธี
ผู้แปล: ผศ. ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม และชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม
จัดพิมพ์โดย: กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ
ปีพิมพ์: 2551
เรื่อง: เกอราจาอัน: วัฒนธรรมการเมืองมลายูในยุคก่อนอรุณรุ่งของระบอบอาณานิคม
ผู้เขียน: เอ.ซี. มิลเนอร์
ผู้แปล: ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม, คำนำเสนอโดย ผศ.ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม และอ.จิรวัฒน์ แสงทอง
จัดพิมพ์โดย: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ
ปีพิมพ์: 2551
เรื่อง: โทรทัศน์
ผู้เขียน: ซะห์นูน อะหมัด
ผู้แปล: อ. อับดุลราซัก ปาแนมาแล
จัดพิมพ์โดย: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บ้านหนังสือ
ปีพิมพ์: 2552 
เรื่อง: สาธารณสุขชุมชน: ประวัติศาสตร์และความทรงจำ
บรรณาธิการ: ผศ. ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม
จัดพิมพ์โดย: นนทบุรี: หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ระบบสุขภาพไทย สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ
ปีพิมพ์: 2552
dictionary1 เรื่อง: พจนานุกรม ภาษาอินโดนีเซีย-ไทย และภาษาไทย-อินโดนีเซีย ฉบับพกพา
ผู้เขียน: เพ็ญศรี พานิช, ไซนีย์ ตำภู และกัลยาณี เกตุแก้ว
จัดพิมพ์โดย: นครศรีธรรมราช: หน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ปีพิมพ์: 2556
เรื่อง: เสือสิบเจ็ดตัวของลูตา
ผู้เขียน: ลินดา คริสตานตี
ผู้แปล: เพ็ญศรี พานิช และคณะ
จัดพิมพ์โดย: ปทุมธานี: สำนักพิมพ์นาคร และศูนย์ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ปีพิมพ์: 2556

นักวิจัยรับเชิญ (Visiting Fellows)

          นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 เป็นต้นมา หน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษาได้ทำหน้าที่รองรับและสนับสนุนนักวิจัยชั้นนำในสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาและไทยศึกษา ภายใต้โครงการนักวิจัยรับเชิญ (Visiting Fellows) โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดและสนับสนุนให้นักวิจัยต่างชาติทั้งที่เป็นนักวิชาการหรือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มาค้นข้อมูลภาคสนามหรือนั่งเขียนงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์  โดยหน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษาและสำนักวิชาศิลปศาสตร์จะอำนวยความสะดวกในเรื่องห้องทำงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบห้องสมุด ตลอดจนเครือข่ายนักวิชาการไทย (โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานด้านภาคใต้ของประเทศไทย) และเรื่องที่พักราคาไม่แพงภายในมหาวิทยาลัย

            โครงการนักวิจัยรับเชิญนี้จะเปิดสำหรับนักวิจัย 2 ประเภท คือ

            1) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (โดยเฉพาะนักวิจัยด้านมาเลเซียศึกษาและอินโดนีเซียศึกษา

            2) ไทยศึกษา (โดยเฉพาะนักวิจัยด้านไทยศึกษาที่ทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องภาคใต้ของไทย)

            โดยนักวิจัยจะต้องเขียนรายงานวิจัยให้เสร็จและนำเสนอความก้าวหน้าของการวิจัยเพื่อแลกเปลี่ยนกับคณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสำนักวิชาศิลปศาสตร์ในการสัมมนาต่างๆ ที่จะจัดขึ้นเป็นระยะๆ

            ในอดีตที่ผ่านมา โครงการนักวิจัยรับเชิญเคยมีนักวิจัยมานั่งทำงานและค้นคว้าวิจัยภายใต้การดูแลของหน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา ตัวอย่างเช่น

Dr Saroja Doraraijoo, NUS

    Topic: Ethincity in Southern Thailand

    Date: June-July 2003

Dr. Myo Nyunt, Edith Cowan University

    Topic: Burmese politics

     Date: 2003

Kamaruzzaman Bustamam-Ahmad (then – MA (Shariah) University of Malaya)

    Topic: The Implementation of Islamic Law in Kelantan and Aceh

    Date: October – November 2004.

Dr. Priyambudi Sulistiyanto, NUS, Singapore

    Topic: The Politics of Reconciliation and Forgiveness in Post-Suharto Indonesia

     Date: 3 – 30 June 2004.

Liu Yang, Graduate Student, NUS, Singapore

    Topic: The Hainanese Community in southern Thailand

     Date: May – September 2004

Yazid Basthomi, State University of Malang, Indonesia

    Topic: Truck Graffitti in Indonesia

     Date: May – September 2004

Assoc. Prof. Yoshio Wada, Himeji Dokkyo University, Japan:

    Topic:”Community-Based Development in Nakhon Sri Thammarat: Lessons from the experiences of Mairiang and Khiriwong”

    Date: November 20, 2004 – February 21, 2005

Cahyo Pamungas, LIPI, Indonesia

    Topic: The Effectiveness of the Autonomous Region in Moslem Mindanao (ARMM) and the Administrative Center of Administration of Southern Border Provinces (ACASBP) in Coping with Separatism [Asia Public Intellectuals Program]

    Date: Jan – June 2004

Dr. James Ferguson, Bond University, Australia

    Topic: ASEAN Regional Forum

    Date: Nov 2003 – Jan 2004

Dr. Rosita Dellios, Bond University, Australia

    Topic: Mandala and Security in Southeast Asia

    Date: Nov 2003 – Jan 2004

Dr. Alexander Horstmann, Munster University

    Topic: Buddhist – Muslim Relations in Upper-Middle Southern Thailand

    Date: July/August 2003, February/March 2004 and July/August 2004.

Aung Myint, Justice Ministry Western Australia (PhD Student, Murdoch University, Australia)

    Topic: Theravada Buddhist Practice and Psychotherapy

    Date: Jan-Jul 2004

Dr. Harry Aveling, La Trobe University

     Topic: Indonesian literature

     Date: June 2004

Dr. Carole Faucher, (formerly NUS)

    Topic: Malayness in the Riau Archipelago

    Date: 2 months in 2005

Dr. Ron Lukens-Bull, University of Northern Florida

    Topic: Islam in Southern Thailand

    Date: 1 month in late 2005

Dr. Michael Montesano, NUS

    Topic: Ethnicity and History on the Malay Peninsula

    Date: 2005?

Jay Zainuddin, Graduate Student, IAIN Sunan Kalijaga

    Topic: Media Coverage of Ethnic Conflict in West Kalimantan, Indonesia, and Southern Thailand

    Date: July to August 2005

Kelly Feltault, PhD Student, American University, Washington DC

    Topic: The Crab-Meat Export Industry of southern Thailand

    Date: January-July 2006

 

Facebook Comments Box