cropped-03-praduu-abbreviation.png

สิ่งตีพิมพ์

dictionary1

พจนานุกรมภาษาอินโดนีเซีย-ไทย และภาษาไทย-อินโดนีเซีย ฉบับพกพา

อาจารย์เพ็ญศรี พานิช นางสาวไซนีย์ ตำภู และนางสาวกัลยาณี เกตุแก้ว ได้จัดพิมพ์พจนานุกรมฉบับพกพาภาษาอินโดนีเซีย-ไทย และภาษาไทย-อินโดนีเซีย 

โดยพจนานุกรมนี้ถือเป็นเอกสารภูมิภาคศึกษา ชุดตำราและคู่มือภาษา ลำดับที่ 1 ภายใต้ชุดโครงการจัดทำพจนานุกรมภาษาอินโดนีเซีย-ไทย ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และโครงการภาษาอินโดนีเซียสำหรับนักศึกษาต่างชาติ (BIPA) มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

โครงการฯ มุ่งหวังว่า พจนานุกรมฉบับพกพาภาษาอินโดนีเซีย-ไทย และภาษาไทย-อินโดนีเซีย จะเป็นคู่มือที่ช่วยในการค้นคว้าวิจัยด้านอินโดนีเซียศึกษาต่อไป

Razak-01

หนังสือรวมเรื่องสั้นและบทกวีของอาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ในมาเลเซีย

ผลงานรวมเรื่องสั้นและบทกวีในภาษามลายู ในชื่อ Pantai Ini Lautnya Dalam (ทะเลนี้น้ำลึก) ประกอบด้วยเรื่องสั้น 10 เรื่อง และบทกวี 28 ชิ้น ที่ประพันธ์โดยอาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล จากหลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ITBM-PENA ในประเทศมาเลเซีย

ผลงานเล่มดังกล่าวนี้เป็นการรวมงานประพันธ์ที่กลั่นประสบการณ์ในการเฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสังคมมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยและวิถีความเป็นไปของมุสลิมในสังคมไทยกว่าทศวรรษ

การตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้เผยแพร่อย่างกว้างขวางในประเทศมาเลเซีย จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักอ่านชาวมาเลเซียได้สัมผัสผลงานวรรณกรรมของนักเขียนไทย และเอื้อประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจสังคมมุสลิมไทยอย่างลึกซึ้งมากขึ้น

Linda

หนังสือแปลรวมเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ ปี 2556 โดยคณะผู้แปลจากหลักสูตรอาเซียนศึกษาได้รับการตีพิมพ์

รวมเรื่องสั้นชุด “Seekor Anjing Mati di Bala Murghub” โดยลินดา คริสตานตี (Linda Christanty) นักเขียนสตรีชาวอินโดนีเซีย ซึ่งได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์) ประจำปี 2556 ได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทยภายใต้ชื่อ “เสือสิบเจ็ดตัวของลูตา” โดยอาจารย์เพ็ญศรี พานิช อาจารย์จิรวัฒน์ แสงทอง อาจารย์ทรรศนะ นวลสมศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรอาเซียนศึกษา และนางสาววรันทร ฉะพงศ์ภพ นักศึกษาหลักสูตรอาเซียนศึกษา

“Seekor Anjing Mati di Bala Murghub” ถ่ายทอดเรื่องราวประเด็นทางสังคม การเมือง ศาสนา เพศสภาพ และภาวะปัจเจกในของสังคมอินโดนีเซีย โดยใช้วิธีการในแนวสัจสังคมและสัจนิยมมหัศจรรย์ คณะผู้แปลได้เลือกเรื่องสั้นทั้งหมดจำนวน 13 เรื่อง เพื่อแปลเป็นภาษาไทยและได้รับการตีพิมพ์โดยความร่วมมือระหว่างสำนักพิมพ์นาคร และศูนย์ศึกษาภาษา สังคม และวัฒนธรรมอาเซียน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556

วรรณกรรมแปลชุดนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้นักอ่านชาวไทยได้เรียนรู้และทำความเข้าใจสังคมวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียได้มากขึ้นท่ามกลางความสนใจของสังคมไทยที่มีต่อกระแสการรวมกลุ่มประเทศอาเซียน

 

Facebook Comments Box