cropped-03-praduu-abbreviation.png

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาอาเซียนศึกษา

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาอาเซียนศึกษา
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts Program in ASEAN Studies


ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: ศิลปศาสตรบัณฑิต (อาเซียนศึกษา)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts (ASEAN Studies)


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาอาเซียนศึกษา มีปรัชญาหลัก คือ ผลิตบัณฑิตที่รอบรู้ด้านภูมิภาคอาเซียนหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเชิงสหวิทยาการ สามารถเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของภูมิภาคอาเซียนได้เพื่อความยั่งยืนและสันติสุข โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ

1) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาอาเซียนศึกษา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีฐานความคิดและเครื่องมือ ในการคิดวิเคราะห์และทำความเข้าใจเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างรอบด้าน รวมทั้งเชื่อมโยงกับบริบทโลกได้ อันนำไปสู่การประยุกต์ใช้ของบัณฑิตต่อไปได้อย่างกว้างขวางในหลายสาขาอาชีพ

2) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาอาเซียนศึกษา เป็นหลักสูตรส่งเสริมการสร้างประชาคมอาเซียน ผ่านโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียน และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ กับสถาบันการศึกษานานาชาติ ทั้งที่มีข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในปัจจุบันและที่จะมีในอนาคต


คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาอาเซียนศึกษา มุ่งผลิตบัณฑิตที่รอบรู้ด้านภูมิภาคอาเซียนหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเชิงสหวิทยาการ สามารถเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของภูมิภาคอาเซียนได้เพื่อความยั่งยืนและสันติสุข


แนวทางประกอบอาชีพ
1. อาชีพด้านวิชาการและการศึกษาวิจัย เช่นครู อาจารย์ นักวิจัย นักแปล ล่าม ฯลฯ 
2. อาชีพด้านสื่อสารมวลชนทุกรูปแบบ เช่น ผู้สื่อข่าว ผู้เขียนข่าว บรรณาธิการ นักเขียนสารคดี ผู้สร้างสรรค์งานด้านสื่อมวลชน ฯลฯ 
3. อาชีพในหน่วยงานราชการทั้งในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ หน่วยงาน องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การพัฒนาชุมชน องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น 
4. อาชีพในวงการธุรกิจที่ใช้ประโยชน์จากหลักสูตรอาเซียนศึกษา เช่น อุตสหากรรมการบริการ การท่องเที่ยว โรงแรม ล่ามภาษา งานประชาสัมพันธ์ ฯลฯ 
5. อาชีพสร้างสรรค์ที่ใช้ภาษาอาเซียนเป็นเครื่องมือและความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น นักเขียน กวี นักเขียนบทภาพยนตร์ ฯลฯ


แนวทางการศึกษาต่อ
บัณฑิตของหลักสูตรสามารถใช้ความรู้ด้านอาเซียนศึกษาต่อยอดสู่การศึกษาระดับปริญญาโทและเอกได้หลายสาขา ทั้งในมหาวิทยาลัยในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้ความรู้ด้านภาษาอาเซียนเป็นใบเบิกทาง

ค่าธรรมเนียม
– ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 13,900.- บาท
– ค่าธรรมเนียมพิเศษต่อภาคการศึกษา 10,000 บาท (เรียกเก็บเฉพาะชั้นปีที่ 1-2 รวมเป็นเงิน 60,000 บาท ซึ่งจะคืนให้นักศึกษาเพื่อเป็นเงินสะสมในการจ่ายค่าเล่าเรียนแก่สถาบันการศึกษาในต่างประเทศเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3)
– ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 226,800.- บาท

แผนการศึกษาในต่างประเทศ

แผนการศึกษาในต่างประเทศแบ่งเป็น 2 แนวทาง เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาในต่างประเทศตามรายวิชาภาษาที่ตนเองเลือกเรียน ในแนวทางใดแนวทางหนึ่งดังต่อไปนี้

  • แนวทางที่ 1: ศึกษาในต่างประเทศเป็นระยะเวลา 3 ภาคการศึกษา ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ถึงภาคการศึกษาที่ 3 รวมจำนวนรายวิชาและหน่วยกิตที่สามารถเทียบโอนได้ 8 รายวิชา 32 หน่วยกิต
  • แนวทางที่ 2: ศึกษาในต่างประเทศเป็นระยะเวลา 2 ภาคการศึกษา ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ถึงภาคการศึกษาที่ 2 รวมจำนวนรายวิชาและหน่วยกิตที่สามารถเทียบโอนได้ 4 รายวิชา 16 หน่วยกิต (กรณีนี้ ในภาคการศึกษาที่ 3 นักศึกษาจะกลับมาเรียนรายวิชาแบบเดียวกับนักศึกษาที่เรียนในต่างประเทศ ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 169 หน่วยกิต  
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 40 หน่วยกิต
  (1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 20 หน่วยกิต
  (2) กลุ่มวิชามนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8 หน่วยกิต
  (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 8 หน่วยกิต
  (4) กลุ่มวิชาบูรณาการ 4 หน่วยกิต
  (5) กลุ่มวิชาสารสนเทศ 4* หน่วยกิต
  หมายเหตุ * ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร
2. หมวดวิชาเฉพาะ 121 หน่วยกิต
  (1) กลุ่มวิชาแกน 36 หน่วยกิต
  (2) กลุ่มวิชาประเทศศึกษา 20 หน่วยกิต
  (3) กลุ่มวิชาภาษาอาเซียน 36 หน่วยกิต
  (4) กลุ่มวิชาประเด็นเฉพาะ 12 หน่วยกิต
  (5) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา 17 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 8 หน่วยกิต


สมัครเรียนกับเรา

Facebook Comments Box