cropped-03-praduu-abbreviation.png

นโยบาย 5ส มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ความสำคัญของโครงการ
ความสำคัญของโครงการ/ หลักการและเหตุผล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล มีระบบบริหารงานเป็นของตนเองซึ่งเป็นการบริหารที่อิสระจากระบบราชการ อีกทั้งเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยในรูปแบบ Residential University และเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยมีความตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาคนในด้านของการเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานควบคู่กับการเสริมสร้างความสุขให้กับบุคลากรทุกระดับในองค์กร โดยมีเป้าหมายในการมุ่งสู่การเป็น “องค์กรเปี่ยมสุขสมรรถนะสูง (Happy High Performance Organization) ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้มอบนโยบายให้หน่วยพัฒนาองค์กรดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยผ่านเครื่องมือคุณภาพหลากหลายตัว อาทิเช่น เครื่องมือการประเมินสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน ของกรมอนามัย เครื่องมือการประเมินสุขภาวะ 4 มิติ ขององค์การอนามัยโลก หรือเครื่องมือความสุข 8 ประการ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งผลจาการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตนและการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เครื่องมือ 5ส เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือคุณภาพที่น่าสนใจและมีศักยภาพในการเสริมสร้าง พัฒนา ยกระดับคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ เครื่องมือ 5ส เป็นเครื่องมือคุณภาพที่มุ่งจัดการความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทำงานอันเป็น ปัจจัยพื้นฐานในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานด้วยสุขภาพกายและใจที่ดีในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปลอดภัย เสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในการปฏิบัติงาน โดยให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วม มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จริงจังและทั่วถึงบนมาตรฐานเดียวกัน จนเป็นวัฒนธรรมและเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ จากความสำคัญดังกล่าวมหาวิทยาลัยจึงมีความมุ่งหวังและตั้งใจที่จะนำเครื่องมือ 5ส มาขับเคลื่อนและประยุกต์ใช้ควบคู่กับเครื่องมือคุณภาพอื่นๆเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานที่ดี มีความสุข สนุก เสริมสร้างคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า “องค์กรเปี่ยมสุขสมรรถนะสูง (Happy High Performance Organization)ต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานด้วยสุขภาพกายและจิตใจที่ดี ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปลอดภัย เสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในการปฏิบัติงาน โดยให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วม มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จริงจัง และทั่วถึงบนมาตรฐานเดียวกัน จนเป็นวัฒนธรรมและเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ ทั้งนี้เพื่อใช้กิจกรรม 5ส ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังนี้

เพื่อให้บุคลากรมีระดับความสุขในการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น
⦁ เพื่อให้บุคลากรมีจิตสำนึก ทัศนคติและมีระเบียบวินัยมากขึ้น
⦁ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
⦁ เพื่อให้บุคลากรมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น
⦁ เพื่อให้สามารถมีผลการประเมิน 5ส ผ่านเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการขอรับการประเมินรางวัล 5ส ระดับชาติ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. บุคลากรมีระดับความสุขในการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น
2. บุคลากรมีจิตสำนึก ทัศนคติและมีระเบียบวินัยมากขึ้น
3. เกิดนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
4. บุคลากรมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น
5. มีผลการประเมิน 5 ส ผ่านเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการขอรับการประเมินรางวัล 5 ส ระดับชาติ

ผลผลิต/ผลลัพธ์/ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ผลผลิต
1. บุคลากรของมหาวิทยาลัย ร้อยละ 70 มีแนวโน้มผลการตรวจสุขภาพที่ดีขึ้น และมีระดับความสุขในการปฏิบัติงาน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น
ผลลัพธ์
2. บุคลากรของมหาวิทยาลัย ร้อยละ 70 มีความพึงพอใจต่อสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
ผลลัพธ์
1. เกิดนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
2. มีผลการประเมิน 5ส ผ่านเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการขอรับการประเมินรางวัล 5ส ระดับชาติ

คู่มือ 5ส มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Facebook Comments Box